รูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องแต่งกายแบบลำลองในเขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องแต่งกายแบบลำลองในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มประชากรสัญชาติไทยที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร เพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแจกแจงความถี่ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ ไคสแคว์ และสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21-25 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-30,000 บาท และมีสถานภาพโสด รูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการขายโดยบุคคล ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการตลาดทางตรง และ ด้านการโฆษณา ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภค ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และสถานภาพ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อเครื่องแต่งกายแบบลำลองแตกต่างกัน และรูปแบบการส่งเสริมการตลาดได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การขายโดยบุคคล การส่งเสริมการขาย และการตลาดทางตรง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องแต่งกายแบบลำลองในเขตกรุงเทพมหานคร
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.