ความหมายอิงบริบท:กรณีศึกษาเปรียบเทียบความหมายของคำนามในโครงสร้างประโยค “有/没有+名词” และ “是/不是+名词” ของภาษาจีนกลางกับโครงสร้างประโยคเทียบเคียงในภาษาไทย

ชนิชา คิดประเสริฐ

Abstract


บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะความหมายอิงบริบทของคำนามที่
ปรากฎในโครงสร้างประโยค “有/没有+名词” “是/不是+名词” ในภาษาจีนกลางกับโครงสร้าง
ประโยคเทียบเคียงในภาษาไทย โดยมุ่งศึกษาเฉพาะความหมายอิงบริบทที่สื่อถึงอารมณ์ ทัศนคติ ท่าที่ การประเมินค่าของผู้พูด ซึ่งจะจำแนกความหมายอิงบริบทที่แสดงความหมายในลักษณะดังกล่าวตามแนวคิดของ Zou Shaohua (邹绍华,2006) โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือแสดงความหมายเชิงบวก และแสดงความหมายเชิงลบ
ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) โครงสร้าง“有/没有+名词”ในภาษาจีนกลาง มีโครงสร้าง
ประโยคเทียบเคียงในภาษาไทยคือ“มี/ไม่มี +คำนาม” และความหมายอิงบริบทของคำนามในโครงสร้างดังกล่าวทั้งในภาษาจีนกลางและภาษาไทยมีลักษณะที่คล้างคลึงกัน โดยสามารถจำแนกได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ แสดงความหมายเชิงบวก แสดงความหมายเชิงลบ และแสดงความหมายทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 2) โครงสร้าง “是/不是+名词”ในภาษาจีนกลาง มีโครงสร้างประโยคเทียบเคียงในภาษาไทยคือ“คือ/ใช่/เป็น/ไม่ใช่/ไม่เป็น+คำนาม” และความหมายอิงบริบทของคำนามในโครงสร้างดังกล่าวในภาษาจีนกลางนั้นพบเพียงลักษณะเดียว คือ แสดงความหมายเชิงบวก แต่ในภาษาไทยพบ 2 ลักษณะ ได้แก่ แสดงความหมายเชิงลบ และแสดงความหมายเชิงบวก 3) การแปลคำนามในโครงสร้างประโยคดังกล่าวจากภาษาจีนเป็นไทยหรือไทยเป็นจีนนั้นบางคำอาจแปลโดยใช้โครงสร้างเทียบเคียงได้เลย แต่เนื่องจากความหมายและวิธีการใช้ของคำนามแต่ละตัวในภาษาจีนกลางและภาษาไทย ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ดังนั้นบางคำผู้แปลต้องตีความจากบริบท ทำความเข้าใจความหมายของคำที่เกิดจากโครงสร้างดังกล่าวแล้วจึงหาประโยคในภาษาไทยที่สื่อความหมายได้ในลักษณะเดียวกัน


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.