ผลกระทบของโครงสร้างการถือหุ้นแบบครอบครัวที่มีต่อระดับการจัดการกำไรของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

หุดา วงษ์ยิ้ม

Abstract


งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของโครงสร้างการถือหุ้นแบบครอบครัวของบริษัทในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างการถือหุ้นแบบครอบครัวที่มีต่อระดับการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี 2556 - 2557 จำนวน 780 ตัวอย่าง (390 บริษัท) โดยรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน รายงานประจำปี แบบ 56-1 ฐานข้อมูล SET Smart และฐานข้อมูล
Thomson Reuters Data stream ผลการศึกษาพบว่า 1) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีลักษณะโครงสร้างการถือหุ้นแบบครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ และร้อยละของการถือหุ้นโดยครอบครัวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม 2)โครงสร้างการถือหุ้นแบบครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการจัดการกำไรอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากิจการที่มีสัดส่วนการถือหุ้นโดยครอบครัวมาก มีแนวโน้มที่จะทำการจัดการกำไร (Earning Management) มากกว่ากิจการที่มี
การถือหุ้นแบบกระจายตัว งานวิจัยนี้ช่วยเพิ่มการตระหนักรู้ของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยถึงความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทครอบครัวจะทำการบิดเบือนตัวเลขกำไร ผลการวิจัยนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดมาตรฐานในการกำกับดูแลเพิ่มเติมสำหรับบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัว


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.