ผลกระทบต่อสังคม : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายค้ำประกันอันเดิมและกฎหมายค้ำ ประกันที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตราตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตรา 681
Abstract
เมื่อประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ระบบเศรษฐกิจไทยยังขาดเสถียรภาพ ทำให้ประชาชนที่มีรายได้ต่ำต้องกู้ยืมเงินจากนายทุน สัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นสัญญาที่มีความสำคัญและพบได้บ่อยในสังคมไทย ผู้กู้มักเสียเปรียบด้วยความได้เปรียบทางด้านสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ นายทุนจึงได้เอารัดเอาเปรียบผู้กู้ในเรื่องดอกเบี้ยหรือการประกันการชำระหนี้ รัฐบาลได้พยายามหาแนวทางในการสร้างความสมดุลทางผลประโยชน์ระหว่างเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันที่มาประกันการชำระหนี้ให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งกฎหมายค้ำประกันได้มีการแก้ไขในหลายๆครั้ง เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้ และผู้ค้ำประกัน โดยครั้งล่าสุดมีการแก้ไขมาตรา 681 ในปี พ.ศ. 2557 โดยกำหนดให้การค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขนั้นสามารถทำได้ แต่ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้รายที่ค้ำประกัน ลักษณะของมูลหนี้ จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกันและระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน ซี่การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเป็นการสร้างหลักประกัน และกำหนดขอบเขตที่แน่นอนในการชำระหนี้ของลูกหนี้และผู้คำประกัน งานวิจัยฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายค้ำประกันเดิมและกฎหมายค้ำประกันที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อศึกษาถึงผลกระทบข้อดีและข้อเสียของกฎหมายทั้งสองฉบับนี้
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.