ความตระหนักและแนวปฏิบัติในการเก็บรวบรวมและการคืนซากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือที่ใช้ แล้วในประเทศไทย กรณีศึกษา : ประชากรที่มีช่วงวัยและพื้นที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน

สุธิดา ภูกองชนะ, ทิพบุษฎ์ เอกแสงศร

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงพฤติกรรม ความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการ
จัดการซากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือในประเทศไทย ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและกลุ่มตัวอย่างที่สนใจในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 4 กลุ่มอยู่ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการตอบแบบสอบถามอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 1,155 ชุด และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ผลการสำรวจพบว่า พฤติกรรมการทิ้งซากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่เก็บเอาไว้ที่บ้าน เพราะไม่รู้ว่าจะทิ้งที่ไหน ก็เนื่องมาจากการขาดความรู้เกี่ยวกับการรับคืนหรือการรีไซเคิลของแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ จึงส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนักในการจัดการซากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถืออยู่ในระดับปานกลาง แต่มีความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบและอันตรายจากการทิ้งซากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถืออยู่ในระดับสูง และปัจจัยทางคุณลักษณะทั่วไปส่วนบุคคลที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการจัดการซากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือประกอบด้วย ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมซากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือให้มีปริมาณมากขึ้นควรมีแนวปฏิบัติโดยทำการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงทุกหน่วยงานทั่วประเทศ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการและประโยชน์ของการคืนซากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือในการนำกลับมาใช้ใหม่ และกำหนดจุดรับคืนซากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือไว้ที่ศูนย์บริการ
เครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศ


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.