ความแตกต่างของการใช้สิทธิลาคลอดบุตรตามกฎหมายแรงงานไทย และกฎหมายแรงงานระหว่างประเทศ
Abstract
ช่วงระยะเวลาหนึ่งในอดีตของโลกซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่เกิดสิทธิความเป็นมนุษย์ขึ้น การค้าทาสหรือเอาคนลงเป็นทาส ที่เอาทาสไปเป็นผู้ใช้แรงงานตามคำสั่งของนายทาส สามารถกระทำกันได้โดยชอบและผู้ที่ต้องการทาสย่อมสามารถหาซื้อทาสได้ตามท้องตลาดของเมืองนั้น ๆ ได้โดยสะดวก ช่วงระยะเวลานั้นเป็นช่วงสมัยยุคโรมัน ซึ่งในขณะนั้นการค้าทาสและใช้แรงงานทาสได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายเนื่องจากความยุติธรรมในช่วงเวลานั้นมองว่าทาสเป็นทรัพย์สินที่สามารถซื้อขายไปมาระหว่างกันได้แต่โลกปัจจุบันแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ประชาคมโลกให้การยอมรับและรับรองสิทธิความเป็นมนุษย์ไว้ การค้าทาสหรือเอาคนลงเป็นทาสก็ไม่สามารถกระทำ ได้โดยชอบด้วยกฎหมายอีกต่อไป แม้ว่าปัจจุบันยังมีการเอาคนลงไปเป็นทาสอยู่ก็ตาม ดังนั้น การเอาบุคคลมาใช้แรงงานที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายใน
ปัจจุบันของแต่ละประเทศจึงต้องอยู่ในรูปของสัญญาจ้างแรงงานทั้งสิ้น ซึ่งประเทศไทยสัญญา
จ้างแรงงานต้องอยู่ภายใต้หลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสิทธิหน้าที่นิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง มาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับการจ้างแรงงานต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น ต่อมาได้มีการคุ้มครองสิทธิของชายหญิงต้องเท่าเทียมกันก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงาน จนไปถึงเรื่องเด็กที่เป็นอนาคตของชาติของประเทศ กฎหมายแรงงานในประเทศต่าง ๆ จึงบัญญัติคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์โดยหวังว่าบุตรที่คลอดและมีชีวิตออกมาโดยได้รับการดูแลจากลูกจ้างหญิงผู้ตั้งครรภ์และผู้ที่ใกล้ชิดซึ่งใช้สิทธิลาตามกฎหมายแรงงานเป็นเด็กที่มีความแข็งแรง สมบรูณ์ และเป็นอนาคตของชาติได้อย่างแท้จริงต่อไป เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป กฎหมายก็ต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องตามไปด้วย จึงเป็นที่มาของบทความนี้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิการลาของลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์ระหว่างกฎหมายไทยและต่างประเทศเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในสังคมไทยต่อไป
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.