นวทางในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกกลั่นแกล้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

นิฤมน รัตนะรัต

Abstract


โครงการวิจัย “แนวทางในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกกลั่นแกล้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์”
มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎี ในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกกลั่นแกล้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกกลั่นแกล้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทยและต่างประเทศ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกกลั่นแกล้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้คุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกกลั่นแกล้งทางสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ 1) การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายในความผิดฐานละเมิด และการจัดการเพื่อทำให้ชื่อเสียงของผู้เสียหายกลับคืนดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2) การฟ้องขอให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิด และให้ยึด ทำลายวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท และโฆษณาคำพิพากษาศาลตามประมวลกฎหมายอาญา และ 3) การฟ้องขอให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิด และให้ทำลายข้อมูลพร้อมกับโฆษณาคำพิพากษาศาล ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามพบว่ากฎหมายไทยที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอต่อการให้ความคุ้มครองผู้เสียหาย เช่น ค่าเสียหายทางจิตใจ และกระบวนการไกล่เกลี่ยระหว่างผู้กระทำความผิดกับผู้เสียหาย
ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการกลั่นแกล้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้
ดังต่อไปนี้ 1) ควรมีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะและกำหนดนิยามของคำว่า “การกลั่นแกล้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความชัดเจนและครอบคลุมลักษณะของการกระทำอันเป็นความผิด 2) ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะในการรับเรื่องร้องเรียนและผู้เสียหายสามารถร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองได้ เช่น ห้ามมิให้กระทำความผิดซ้ำ และห้ามติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ถูกกลั่นแกล้ง และ 3) ควรใช้มาตรการทางสังคมในการส่งเสริมบทบาทของครอบครัว สถานศึกษา และสื่อมวลชนให้มีความตระหนักรู้และใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างสร้างสรรค์ต่อไป


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.