ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเครียดของนักศึกษาในวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม

ธรรมศักดิ์ สายแก้ว, ปริศนา เพียรจริง, สุรีย์วรรณ สีลาดเลา, วรรณวิมล เมฆวิมล กิ่งแก้

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มี
ผลกระทบต่อความเครียดกับระดับความเครียดของนักศึกษาในวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 259 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและระดับความเครียด โดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดกับระดับความเครียด โดยใช้ค่าสถิติไคล์สแคว์ Chi – square ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับมีความเครียด คิดเป็นร้อยละ 58.3 และมีความเครียดรายด้านอยู่ในระดับความเครียดเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 49 มีระดับความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 31.3 ความเครียดระดับต่ำกว่าปกติอย่างมาก คิดเป็นร้อยละ 9.3 มีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติมาก คิดเป็นร้อยละ 5.0 และต่ำสุดมีความเครียดระดับสูงกว่าปกติปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 5.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักศึกษาในวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงครามได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างเพื่อน และสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 แต่ปัจจัยตัวแปรเพศ ชั้นปีการศึกษา สาขาวิชา บุคลิกภาพ สถานภาพสมรสของบิดามารดา ค่าใช้จ่ายต่อเดือน และคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักศึกษาในวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการจัดกิจกรรมในการจัดการความเครียดที่เน้นกิจกรรมกลุ่มเพื่อนเพิ่มขึ้น และจัดอบรมกระบวนการจัดการความเครียดแก่นักศึกษาที่มีการพักในหอพัก เพื่อให้มีทักษะในการจัดการความเครียดและเป็นผู้ให้คำปรึกษาเพื่อนร่วมห้อง (roommate) อย่างถูกต้อง


Refbacks

  • There are currently no refbacks.