การประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบ พื้นที่เหมืองทองคำ บริเวณลุ่มน้ำห้วยน้ำฮวย จังหวัดเลย

คธาวุฒิ ไวยสุศรี

Abstract


การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม และยังส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย แต่ทว่าในลุ่มน้ำห้วยน้ำฮวยยังขาดการจัดการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในระดับลุ่มน้ำย่อยแห่งนี้ ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2560 โดยการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาใช้
ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ป่าไม้ในลุ่มน้ำนั้นลดลงเป็นอย่างมากจากขนาดเนื้อที่ของป่าไม้ในปี พ.ศ. 2545 มีเนื้อที่ประมาณ 89.703 ตร.กม. (ร้อยละ 43.2) กลับลดขนาดพื้นที่ลงเหลือเพียง 79.835 ตร.กม. (ร้อยละ 38.448) ของปี พ.ศ.2560 บริเวณพื้นที่ต้นน้ำห้วยน้ำฮวย บริเวณห้วยมุนอ ห้วยโคกใหญ่ และห้วยแห้ง ส่วนพื้นที่เหมืองทองคำได้ขยายตัวถึง 2.195 ตร.กม. (ร้อยละ 1.057) ปรากฏในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยนาหนองบง สัดส่วนการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า พื้นที่ป่าไม้ได้เปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินชนิดอื่น ๆ โดยพื้นที่ป่าไม้ถูกแทนที่ด้วยพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดถึง 16.65 ตร.กม. รองลงมาถูกแทนที่ด้วยพื้นที่ปลูกข้าวโพด และทุ่งหญ้า ส่วนพื้นที่เหมืองทองคำนั้น แต่เดิมเคยเป็นนาข้าว พื้นที่ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และพื้นที่ป่ามาก่อน มีสัดส่วน 0.15, 0.36, 0.05 และ 1.64 ตร.กม. ตามลำดับ ซึ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรีโมทเซ็นซิ่งและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ช่วยให้รวบรวมและวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในอดีตและคาดคะเนในอนาคตได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถนำข้อมูลเชิงพื้นที่ไปใช้สำหรับสนับสนุนการตัดสินใจในการกำกับ ติดตามและควบคุมการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวให้มี
ประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมในการดำเนินการในอนาคต


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.