อิทธิพลของการรับรู้และการมีส่วนร่วมที่มีต่อการยอมรับของประชาชน ในงานบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้
การมีส่วนร่วม และการยอมรับของประชาชนที่มีต่อการให้บริการวิชาการแก่สังคม ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างการรับรู้ การมีส่วนร่วม ที่มีต่อการยอมรับของประชาชนต่อการให้บริการวิชาการแก่สังคม ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ การมีส่วนร่วม และการยอมรับของประชาชนที่มีต่อการให้ บริการวิชาการแก่สังคม ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 500 คน สถิติที่ใช้ในประกอบด้วย สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent t-test One Way ANOVA การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30-39 ปี มีการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้างเท่ากับอาชีพรับราชการ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 15,001 – 25,000 บาท อาศัยอยู่ในอำเภอธัญบุรี ผลการวิเคราะห์ระดับการรับรู้ของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคมในภาพรวมอยู่ในระดับรับรู้มาก ในรายด้านด้านการเลือกจดจำมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผลการวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ในรายด้าน ด้านการมีส่วนร่วมใน
การปฏิบัติมีค่า เฉลี่ยสูงสุด ผลการวิเคราะห์การยอมรับของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในรายด้าน ด้านขั้นรับรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและเขตพื้นที่ที่อาศัยอยู่จริงที่แตกต่างกันมีผลต่อการรับรู้ของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและเขตพื้นที่ที่อาศัยอยู่จริงที่แตกต่างกันมีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
และเขตพื้นที่ที่อาศัยอยู่จริงที่แตกต่างกันมีผลต่อการยอมรับของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้ของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคมโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคม การมีส่วนร่วมของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคมโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคม การรับรู้ของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคมและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการยอมรับของประชาชนต่องานบริการวิชาการแก่สังคมโดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ(R2) เท่ากับ .807 และสามารถทำนายค่าสมการของการวิเคราะห์ได้ (Adjust R2) เท่ากับร้อยละ 80.6
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.