วรรณกรรมโหราศาสตร์ของไทย จีน และอินเดีย : กรณีศึกษาเปรียบเทียบกับ 12 ราศี 12 นักษัตร และดาวนักษัตรทั้ง 28 กลุ่มดาว

วรเดช มีแสงรุทรกุล

Abstract


        ระบบวันเดือนปีของมนุษย์ทั่วโลกมากจากจักรราศีเดียวกัน คือเกิดจากธรรมชาติของการหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดจักรราศีที่เป็นดาวที่อยู่นิ่งดูเหมือนเคลื่อนผ่านเส้นสุริยวิถีบนฟ้า และมนุษย์ก็นำมาใช้ในการคำนวณฤดูการและการตั้งค่าวันเดือนปีขึ้น จักรราศีโบราณที่เป็นกลุ่มดาวดวงเดียวกันจึงถึงมองและจินตนาการสร้างตำนานดาว ต่าง ๆ ขึ้นมารองรับแม้ว่าเรื่องราวและตำนานต่าง ๆ เหล่านั้นจะเหมือนกันบ้างและแตกต่างกันบ้าง เพราะดาวแต่ละดวงนั้นมนุษย์บนโลกจิตนาการเทียบเคียงกับสิ่งที่มีอยู่ในวัฒนธรรมของตนเอง ทำให้กลุ่มดาว 12 ราศี กลายเป็น 12 นักษัตร และกลายเป็นดาวนักษัตรทั้ง 28 หรือ 27 กลุ่มดาวตามความเชื่อเกี่ยวกับโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ของไทยโบราณ ซึ่งมีลักษณะความเชื่อที่ผสมผสานกันระหว่างความเชื่อในเรื่องดาราศาสตร์จากทางตะวันตก (กรีก อินเดีย เปอร์เซีย) และตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)

         โดยที่โหราศาสตร์ไทยและดาราศาสตร์ไทยปรากฏความเชื่อในเรื่อง 12 ราศีประจำเดือนแบบกรีก 27 กลุ่มดาวนักษัตรบริวารแบบอินเดีย และ 12  นักษัตรประจำปีแบบจีน ซึ่งกลุ่มนักษัตรประจำปีทั้ง 12 นั้นก็สามารถอ้างอิงได้กับกลุ่มดาวนักษัตรทั้ง 28 กลุ่มเช่นกัน เพราะกลุ่มดาวทั้งหมดเหล่านี้คือกลุ่มดาวเดียวกัน ที่ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปเสวยฤกษ์ในแต่ละวัน เพียงแต่ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นตัวแทนของฤดูกาล วันเดือนปี และทิศ ในการจำแนกความรู้และมุมมองทางด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญาทางโหราศาสตร์และดาราศาสตร์โบราณซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามอัตลักษณ์และความเชื่อความคิดของแต่ละชนชาติ ดังเช่น ดาวจระเข้ของไทย คนในประเทศแถบยุโรป เรียกว่า “ดาวหมีใหญ่” ตามอิทธิพลของตำนานกรีก แต่คนอินเดียมองว่าเป็นฤๅษีเจ็ดตน หรือดาวอารทราในกลุ่มดาวนายพรานของกรีกนั้น ชาวอินเดียมองว่าเหมือนเป็นหินปะการังสีแดง คนไทยว่าเป็นดาวหมากแดง (ripe areca-nut) แต่ชาวไทยทางภาคเหนือเรียกว่าเป็นดาวหมาแดง ถ้าเทียบกับภาษาไทยภาคกลางก็อาจจะเข้าใจว่าเป็น “สุนัขสีแดง” ซึ่งก็เป็นเรื่องของการเทียบผิดทางภาษาและความคิดที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม

คำสำคัญ 12 ราศี , 12 นักษัตร , ดาวนักษัตรทั้ง 28 กลุ่ม 


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.