การศึกษาเครื่องดนตรีมอญ : กรณีศึกษา “หะกุมหะเปินหะหนก” ของศูนย์วัฒนธรรมมอญ หมู่บ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

รัชชานนท์ ยิ้มระยับ

Abstract


     การวิจัยนี้  ใช้หลักทางมานุษยวิทยา โดยผู้วิจัยศึกษาเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์  และสังเกตจากภาคสนาม โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

     1.ศึกษาประวัติความเป็นมาและวิธีการบรรเลงหะกุมหะเปินหะหนก

     2.ศึกษาความสัมพันธ์ของหน้าทับหะกุมหะเปินหะหนกกับทำนองเพลงและท่ารำ

     โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาองค์ความรู้เรื่องเครื่องดนตรีมอญกรณีศึกษาหะกุมหะเปินหะหนก ให้แก่บุคคลสนใจเรื่องเครื่องดนตรีกลุ่มชาติพันธ์มอญ เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าความรู้เรื่องหะกุมหะเปินหะหนก     

     ผลการวิจัยพบว่า 1. หะกุมหะเปินหะหนก เป็นเครื่องดนตรีประเภทขึงด้วยหนัง ทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินจังหวะของทำนองเพลงและสนับสนุนจังหวะของการร่ายรำ หะกุมหะเปินหะหนก ประกอบด้วยกันทั้งหมดสามส่วน คือ หะเปินหะหนก  ปูนปอน และ ปูนเซป การบรรเลงหะกุมหะเปินหะหนก ต้องใช้มือตีในลักษณะต่างๆ เพื่อให้เกิดลักษณะเสียงที่แตกต่างกัน ผู้บรรเลงหะกุมหะเปินหะหนกต้องใช้สมาธิสูงเพื่อจดจำทำนองของเพลงที่บรรเลง เนื่องจากดนตรีมอญไม่นิยมอ่านโน้ตขณะบรรเลง ด้วยเหตนี้จึงทำให้นักดนตรีชาวมอญจดจำทำนองเพลงมอญและสืบทอดส่งกันต่อมารุ่นสู่รุ่น 2. บทเพลงที่ใช้บรรเลงในวัฒนธรรมดนตรีมอญ มีความคล้ายกับดนตรีไทยในเรื่องของแบ่งจังหวะเพลง คือนับแปดจังหวะเหมือนดนตรีไทย จึงทำให้การนับจังหวะหน้าทับหะกุมหะเปินหะหนกและการนับจังหวะการรำมีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน

คำสำคัญ วัฒนธรรมดนตรีมอญ , หะกุมหะเปินหะหนก


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.