ศักยภาพการให้นํ้าท่าของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขานํ้าแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

รติกาล ภาพติ๊บ

Abstract


      การศึกษาศักยภาพการให้น้ำท่าของพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ 3,230 ตร.กม. ความสูง 380-2,060 ม.(รทก.) พื้นที่เป็นเทือกเขาสูงชัน มีความลาดชันเฉลี่ยร้อยละ 48.42 ทิศด้านลาดไปทางทิศเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าผลัดใบสมบูรณ์ร้อยละ 56 และพื้นที่เกษตรกรรมร้อยละ 29 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากกรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน และกรมทรัพยากรน้ำ ในด้านปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2557 เพื่อให้ทราบศักยภาพของปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ลาว สามารถเป็นน้ำต้นทุนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ

       ผลการศึกษาพบว่า ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ลาวให้ปริมาณน้ำเฉลี่ยรายปี 981.48 ล้าน ลบ.ม. หรือ 318.66 มม. คิดเป็นร้อยละ 23.82 ของปริมาณน้ำฝน โดยแบ่งเป็นช่วงน้ำหลาก (เมษายน–ตุลาคม) 774.02 ล้าน   ลบ.ม. หรือ 251.30 มม. คิดเป็นร้อยละ 78.86 ของปริมาณน้ำทั้งปี และช่วงแล้งฝน (พฤศจิกายน–มีนาคม) 207.47 ล้าน ลบ.ม. หรือ 67.36 มม. คิดเป็นร้อยละ 21.14 ของปริมาณน้ำทั้งปี เมื่อพิจารณาปริมาณน้ำและลักษณะการไหลของน้ำท่าและการกระจายของน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำช่วงเวลาต่าง ๆ กัน พบว่า ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ลาวมีศักยภาพการให้น้ำท่าปานกลาง และก็มีน้ำไหลในลำน้ำตลอดทั้งปี แม้ว่าปริมาณน้ำท่าช่วงเริ่มต้นฤดูกาลจะมาล่าช้าซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในช่วงน้ำหลาก

 

คำสำคัญ ศักยภาพการให้น้ำท่า, ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ลาว

 


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.