การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส สร้างและพัฒนาแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุของการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส เปรียบเทียบแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสในแบบจำลอง จำแนกตามเพศ และชั้นปีที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ คณะเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 567 คน เลือกมาโดยการสุ่มแบบมีจุดมุ่งหมาย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 10 ฉบับซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .846, 785, .705, .618, .791, .774, .824, .784, .865 และ .883 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่างและการแจกแจงของตัวแปร ส่วนการทดสอบสมมุติฐานความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์หลังจากการปรับโมเดล มีค่าสถิติไค-สแควร์ (c2)= 329.227, df = 191, CFI = 0.996, p-value = 0.000, SRMR = 0.039, GFI = 0.959, AGFI =0.918, RMSEA=0.035 มีองค์ประกอบการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ได้แก่ การปฏิบัติต่อพระเจ้า การปฏิบัติต่อสังคม การปฏิบัติต่อตนเอง การปฏิบัติพิธีกรรม และการปฏิบัติกิจกรรมโบสถ์ ส่วนปัจจัยเชิงสาเหตุพบว่า ปัจจัยด้านจิตลักษณะไม่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนา ปัจจัยด้านลักษณะสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนา ได้แก่ การดำรงชีวิตแบบเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสมีอิทธิพลทางตรง การถ่ายทอดทางศาสนามีอิทธิพลทางอ้อมผ่านเจตคติต่อการปฏิบัติศาสนา และการสนับสนุนจากคริสตจักรมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการประกาศศาสนา ปัจจัยด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนา ได้แก่ เจตคติต่อการปฏิบัติศาสนามีอิทธิพลทางตรง และปัจจัยด้านพฤติกรรม ได้แก่ การประกาศศาสนามีอิทธิพลทางตรง ผลการเปรียบเทียบรูปแบบของแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุของการปฏิบัติทางศาสนา และผลการเปรียบเทียบปัจจัยเชิงสาเหตุของการปฏิบัติทางศาสนาระหว่างนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง และชั้นปีที่ศึกษาแตกต่างกัน
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.