ผลของการนวดสัมผัสทารกต่อความปวดของทารกแรกเกิด ที่ได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย

สุรีทร ส่งกลิ่น

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental Research Design) แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (Two-group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดสัมผัสทารก ต่อความปวดของทารกแรกเกิดที่ได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย โดยประเมินจากปฏิกิริยาการตอบสนองด้านพฤติกรรมและด้านสรีรวิทยา ในทารกแรกเกิดที่ได้รับการพยาบาลด้วยการนวดสัมผัส เปรียบเทียบกับทารกที่ได้รับการพยาบาลตามปกติด้วยวิธีการห่อตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรีเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มทดลองได้รับการนวดสัมผัส และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติด้วยวิธีห่อตัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินพฤติกรรมการตอบสนองความปวดของทารกแรกเกิด แบบบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบค่าที (Independent t-test)
ผลการวิจัย พบว่า ทารกแรกเกิดกลุ่มที่ได้รับการนวดสัมผัสมีการตอบสนองด้านพฤติกรรม
ต่อความปวด น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการห่อตัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) อัตราการเต้นของหัวใจและค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ.05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการนวดสัมผัสทารกช่วยลดพฤติกรรมการตอบสนองความปวดได้ ดังนั้นผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะแก่บุคลากรด้านสุขภาพควรนำการนวดสัมผัสไปใช้เพื่อลดความปวดของทารกที่ได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย และจากการทำหัตถการต่าง ๆ เพื่อลดความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนจากความปวดที่อาจเกิดขึ้นกับทารกได้


Keywords


ความปวด; ทารกแรกเกิด; นวดสัมผัสทารก

Full Text:

PDF

References


กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์. (2550). การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง. ใน บุญเพียร จันทวัฒนา, ฟองคำ ติลกสกุลชัย, บัญจางค์สุขเจริญ, วิไล เลิศธรรมเทวี และศรีสมบูรณ์มุสิกสุคนธ์. (บรรณาธิการ), ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 1(หน้า 374-388). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี-วัน.

กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์. (2550). การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติของระดับนํ้าตาลในเลือด. ในบุญเพียร จันทวัฒนา, ฟองคำ ติลกสกุลชัย, บัญจางค์ สุขเจริญ, วิไล เลิศธรรมเทวี และศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์. (บรรณาธิการ), ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 1 (หน้า 389-398). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี-วัน.

จันทร์ฉาย ทองโปร่ง, นุจรีไชยมงคล และยุนี พงศ์จตุรวิทย์. (2554). ผลของการให้ดูดนมมารดาอย่างมีแบบแผนต่อความปวดจากการเจาะเลือดในทารกแรกเกิด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 19(2), 42-53.

นิตยา สินปรุ. (2550). ผลของการห่อตัวตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อลดความเจ็บปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกแรกเกิด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปัทมา กาคำ. (2540). ผลการห่อตัวต่อการตอบสนองต่อความเจ็บปวดจากการเจาะส้นเท้าในทารก คลอดครบกำหนด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผุสดี เหมคุณากร. (2543). ผลของการสัมผัสต่อการตอบสนองด้านพฤติกรรมต่อความเจ็บปวด อัตราการเต้นของหัวใจ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน และระยะเวลาในการร้องไห้ในทารก

แรกเกิดที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบ บี. เวชสารแพทย์ตำรวจ, 26, 19-24.

สุดารัตน์ สุภาพงษ์. (2544). ผลของการปลอบโยนและประคับประคองอย่างมีแบบแผนต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง และความเจ็บปวดในทารกแรกเกิดที่ได้รับการแทงเส้นเลือดดำ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เอื้องดอย ตันฑพงศ์. (2543). ผลของการห่อตัวต่อการตอบสนองต่อความเจ็บปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกคลอดก่อนกำหนด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Anand, K. J. S., & Hickey, P. R. (1987). Pain and its effect in the human neonate andfetus. The New England Journal of Medicine, 317(21), 1321-1329.

Bellieni, C. V., Iantorno, L., Perrone, S.,Rodriguez, A., Longini, M., Capitani,S., & Buonocore, G. (2009).

Evenroutine painful procedures can be harmful for the newborn. Pain, 147, 128-131.

Blass, E. M., Fitzgerald, E., & Kehoe, P. (1987). Interactions between sucrose, pain and isolation distress. Pharmacology Biochemistry and Behavior, 26, 483-489.

Chick.Y. M., & Wan, I. P. (2011). The effect of limb massage on infant’s venipuncture pain. The Journal of Pain, 13(4), 89.

Diego, M. A., Field, T., & Hernandez-Reif, M. (2009). Procedural pain heart rate responses in Massaged preterm infants. Infant Behavior and Development, 32, 226-229.

Field, T., Diego, M. A., & Hernandez-Reif, M. (2007). Massage therapy research. Development Review, 27, 75-89.

Field, T., Hernandez-Reif, M., Seligman, S., Krasnegor, J., & Sunshine, W. (1997). Juvenile rheumatoid arthritis: Benefits from massage therapy. Journal of pediatric Psychology, 22(5), 607-617.

Grunau, R. E., Holsti, H., & Peters, J. W. B. (2006). Long-term consequences of pain in human neonates. Seminars in Fetal & Neonatal Medicine, 11, 268-275.

Johnston, C. C., Stremler, R. L., Stevens, B. J., & Horton, L. J. (1997). Effectiveness of oral sucrose and simulated rocking on pain response in preterm neonates. Journal of the International Association for the Study of Pain, 72, 193-199.

Kulkarni, A., Kaushik, J. S., Gupta, P., Sharma, H., &Agrawal, R. K. (2010). Massage and Touch Therapy in Neonates: The Current Evidence. Indian Pediatrics, 47, 771-776.

Lieblich, I., Cohen, E., Ganchrow, J. R., Blass, E.M., & Bergman, F. (1983). Morphine tolerance in genetically selected ratsinduced by chronically elevated saccharine intake. Science, 221, 871-873.

Melzack, R., Wall, P. D. (1965). Pain Mechanisms: A New Theory. American Association for the Advancement of Science, 150, 971-979.

Stevens, B. J., & Johnston, C. C. (1994). Physiological Responses of premature infants to a painful stimulus. Nursing Research, 43(4), 226-231.

Stevens, B. J., Johnston, C. C., & Grunau, R. V. E. (1995). Issues of assessment of pain and discomfort in neonates. Journal of Obstetric Gynecologic and Neonatal Nursing, 24(9), 849-855.

Tansky, C., & Lindberg, C. E. (2010). Breastfeeding as a Pain Intervention When Immunizing Infants. The Journal for Nurse Practitioners, 6(4), 287-295.

Yamada, J., Stinson, J., Lamba, J., Dickson, A., McGrath, P. J., & Stevens, B. (2008). Areview of systematic reviews on pain interventions in hospitalized infants. Pain ResearchManagement, 13(5), 413-420.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.