ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของมาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก ของกรมปศุสัตว์ในจังหวัดอ่างทอง

สืบสวัสดิ์ ภาคพิบูลย์

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล สภาพการเลี้ยงสัตว์ปีกของเกษตรกร
ในจังหวัดอ่างทอง มาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนกของกรมปศุสัตว์ และความสัมพันธ์ของปัจจัย
ส่วนบุคคลได้แก่ ระดับการศึกษาจำนวนแรงงานในครัวเรือนที่ช่วยเลี้ยงสัตว์ปีกและแหล่งความรู้/ข่าวสาร
และสภาพการเลี้ยงสัตว์ปีก ประชากรในการวิจัยคือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกที่ขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์ปีก
ปีงบประมาณ 2553 ในจังหวัดอ่างทอง จำนวน 11,148 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 386 ราย โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.812 พบว่าแหล่งความรู้/ข่าวสารที่เกษตรกรได้รับสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของมาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก ในมาตรการที่ 2 ค้นหาโรคเร็ว ทำลายสัตว์ป่วยและทำลายเชื้อโรค โดยสร้างเครือข่ายประชาชนและอาสาในระดับหมู่บ้าน ตำบล และมาตรการที่ 3 ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก โดยสัตว์ปีกทุกตัวต้องผ่านการตรวจโรคก่อนเคลื่อนย้าย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการเลี้ยงสัตว์ปีกกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของมาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก พบว่าชนิดสัตว์ปีกที่เลี้ยงมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จ ของมาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนกทั้งหมด 4 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 3 ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก โดยสัตว์ปีกทุกตัวต้องผ่านการตรวจโรคก่อนเคลื่อนย้าย มาตรการที่ 4 ขึ้นทะเบียน ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั้งหมดไก่ชนและฝูงเป็ดต้องมีทะเบียน มาตรการที่ 5 ปรับปรุงระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และมาตรการที่ 10 จัดตั้งส่วนการผลิตสัตว์ปีกครบวงจรที่ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนรูปแบบการเลี้ยง พบว่า มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของมาตรการควบคุม ป้องกันโรคไข้หวัดนกในมาตรการที่ 2 ค้นหาโรคเร็ว ทำลายสัตว์ป่วยและทำลายเชื้อโรค โดยสร้างเครือข่ายประชาชนและอาสาในระดับหมู่บ้าน ตำบล ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


Keywords


โรคไข้หวัดนก; การป้องกันโรคไข้หวัดนก; กรมปศุสัตว์

Full Text:

PDF

References


กรมปศุสัตว์. (2548). การควบคุมโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติวดี หิมารัตน์ และปนัดดา เนตรพุดซา. (2553). ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2554, จาก http://www.dld.go.th/dcontrol/th/

ชุติพนธ์ ศิริมงคลรัตน,พรพิรุณ และสรยุทธ สีขาว. (2552). ผลการใช้มาตรการในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ตั้งแต่ปี 2547-ปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2554, จากhttp://www.dld.go.th/dcontrol/th/

ยุษฐิระ บัณฑุกุล และคมสัน รุ่งเรือง. (2549). การศึกษาการจัดการและประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกเพื่อสร้างความปลอดภัยทางชีวภาพและสาธารณสุขในสนามไก่ชน. รายงานผลงานวิชาการที่สำคัญ ประจำปี 2549 เล่ม 1 โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์. (2550). คู่มือปฏิบัติงานควบคุมโรคไข้หวัดนก. กรุงเทพฯ:

กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

_____. (2553). รวมบทคัดย่องานวิจัยเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2548). สถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศไทย. 1(7).

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์คั้งที่ 8 สุวีริยาสาส์น,กรุงเทพฯ:

Yamane,T. 1973. Statistic; An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row

Choi YK, Nguyen TD, Ozaki H, Webby RJ, Puthavathana P, Buranathai C, Chaisingh A, Auewarakul P,Hanh NT, Ma SK, Hui PY Guan Y, Peiris JS, Webster RG. Studies of H5N1 influenza virus infection of pigs by using viruses isolated in Vietnam and Thailand in 2004, J virol2005,79.10821-10825 (PMC free article)(PubMed)

Songserm T., Amonsin A., Jam-On R., Sae-Heng N., Meemak N., Paryuothorn N., Payungporn S., Pheamboonlers A., and Poovorawan Y. Avian influenza H5N1 in naturally infected domestic cat. Energing Infectious. Dieases. 2600 Aeril 12 (4): 681-683.

Thanawongnuwech R, Amonsin A, Tantilertcharoen R, Damrongwatanapokin S, Theamboonlers A, Payungporn S, Nanthapornphiphat K, Ratanamungklanon S, Tunak E, Songserm T, Vivatthanavanich V, Lekdumrongsak T, Kesdangsakonwut S, Tunhikorn S, Poovorawan Y. Probanle tiger-to-tiger transmission of avian influenza H5N1. Emerging Infectious

Diseases. 2005 May ;11(5):699-701.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.