แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะภายในโรงเรียนวัดจันทรสโมสร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

วีระศักดิ์ มุกดา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมในการจัดการขยะของนักเรียนโรงเรียนวัดจันทรสโมสร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งศึกษาเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมในการจัดการขยะของนักเรียนโรงเรียนดังกล่าวโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังทำการศึกษาเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะที่เหมาะสมของโรงเรียนวัดจันทรสโมสร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร อีกด้วย
วิธีการศึกษาดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนวัดจันทรสโมสรตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 158 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการตอบแบบสมั ภาษณเ์ ชงิ ลกึ ได้แก่ ผูบ้ ริหารโรงเรยี นจำนวน 1 คน คณะครูที่มตี ำแหนง่ เป็นหวั หนา้ งานหรอื ตวั แทนแต่ละสายชั้นจำนวน 4 คน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองของโรงเรียนจำนวน 4 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะจำนวน 1 คน รวมจำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t (t - Test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) นอกจากนี้ยังใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อประมวลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับทั้งหมดจากการสนทนากลุ่ม แล้วกลั่นกรองและเรียบเรียงเนื้อหาให้ได้แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะภายในโรงเรียนวัดจันทรสโมสรต่อไป
ผลของการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมในการจัดการขยะของนักเรียนโรงเรียนวัดจันทรสโมสร
โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x = 2.79, S.D. = 0.69) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการนำขยะกลับมาใช้ซํ้า อยู่ในระดับมาก (x = 3.51, S.D. = 0.67) รองลงมา ได้แก่ ด้านการลดการเกิดขยะ อยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.16, S.D. = 0.57) ด้านการนำขยะกลับมา อยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.09, S.D. = 0.87) และ ด้านการหลีกเลี่ยงวัสดุที่ทำลายยาก อยู่ในระดับตํ่า (x = 2.37, S.D.= 0.68) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการหมุนเวียนขยะกลับมาใช้ใหม่ อยู่ในระดับตํ่า (x = 1.85,S.D. = 0.70) (2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมในการจัดการขยะของนักเรียนโรงเรียนวัดจันทรสโมสรเมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า นักเรียนที่มีเพศและอายุต่างกัน มีระดับพฤติกรรมในการจัดการขยะไม่แตกต่างกัน [Sig.เท่ากับ 0.52> ∝ (0.05)] ส่วนนักเรียนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีระดับพฤติกรรมในการจัดการขยะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 [Sig.เท่ากับ 0.00> ∝ (0.05)] และ (3) แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะภายในดจันทรสโมสรที่ได้จากการวิจัยมีดังนี้ การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะ การเรียนการสอนแบบโครงงานลงสู่วิชาเรียน ได้แก่ การนำถุงนมมาประดิษฐ์เป็นชิ้นงานในวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ การทำปุ๋ยหมักจากขยะเศษอาหารในวิชาเกษตร การนำเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้วมาประดิษฐ์เป็นกระเป๋าผ้าช่วยลดโลกร้อน เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ การจัดฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรในโรงเรียน นักเรียนคณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการขยะ และมีการติดตามและประเมินผลจากการจัดกิจกรรมทุก ๆ โครงการเกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งเพื่อติดตามผลที่เกิดขึ้นและปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายมากที่สุด

 


Keywords


แนวทางการจัดการขยะภายในโรงเรียน; พฤติกรรมการจัดการขยะของนักเรียน

Full Text:

PDF

References


เกษม จันทร์แก้ว, สนิท อักษรแก้ว และสามัคคี บุณยะวัฒน์. (2542). สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปนัดดา รุจะศิริ. (2554). พฤติกรรมการจัดการขยะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนานาชาติเทร็ลล์. กรุงเทพฯ: การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

(การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

มยุรี คงแถลง. (2551). การศึกษาพฤติกรรมการคัดแยกขยะของพนักงานโรงพยาบาลเกษมราษฎร์

สุขาภิบาล 3. กรุงเทพฯ: สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โรงเรียนวัดจันทรสโมสร. (2555). ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนวัดจันทรสโมสร. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 จาก http://www.school.bangkok.go.th/watjansamosorn.

สุริยา ยีขุน. (2550). การจัดการขยะฐานศูนย์ และการประยุกต์ใช้แนวความคิดของเทศบาลตำบลปริกเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างเสริมสุขภาพชุมชน. สงขลา : เทศบาลตำบลปริก.

Yamane, T. (1973). Statistics An introductory (2 nd ed.). New York : Harper & Row.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.