แบบจำลองคาดการณ์อุบัติเหตุบนถนนสองช่องจราจรในจังหวัดสุรินทร์

พงศธร เข็มทอง

Abstract


ในการวิจยั นีไ้ ดศึ้กษาแบบจำลองคาดการณ์การเกดิ อบุ ตั ิเหตบุ นทางหลวงขนาดสองชอ่ งจราจรใน
เขตนอกเมืองจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้แบบจำลองสถิติเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านจราจรและ
กายภาพถนนทีส่ ง่ ผลตอ่ จำ นวนครั้งของการเกดิ อบุ ตั ิเหตุขึ้นทัง้ หมด จำนวนอุบัตเิ หตทุ ีเ่ กดิ การบาดเจ็บ และจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดการเสียชีวิต โดยรวบรวมข้อมูลอุบัติเหตุและปริมาณจราจรย้อนหลังทั้งหมด 5 ปี จำนวน 685 ชุดข้อมูล การทดสอบใช้การวิเคราะห์การถดถอยปัวส์ซอง และการวิเคราะห์การถดถอยปัวส์ซองแบบมีศูนย์มาก ในการวิเคราะห์การถดถอยปัวส์ซองหากพบว่าข้อมูลมีการกระจายตัวของตัวแปรตามมาก (Overdispersion) จะใช้การวิเคราะห์การถดถอยทวินามเชิงลบแทน ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองที่เหมาะสมในการคาดการณ์จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดและจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดการบาดเจ็บ คือแบบจำลองการถดถอยทวินามเชิงลบ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด ได้แก่ องศาโค้งราบ ความกว้างผิวทาง และ การมี/ไม่มีทางแยก ปัจจัยที่ส่งผลต่ออุบัติเหตุที่เกิดการบาดเจ็บ ได้แก่ ความกว้างผิวทาง ส่วนแบบจำลองที่เหมาะสมในการคาดการณ์จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดการเสียชึวิต คือ แบบจำลองการถดถอยปัวส์ซองแบบมีศูนย์มาก โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุได้แก่ องศาโค้งราบ ร้อยละทางลาดชัน และความเร็วออกแบบ


Keywords


แบบจำลองการถดถอยปัวส์ซอง; แบบจำลองการถดถอยทวินามเชิงลบ; แบบจำลองการถดถอย ปัวส์ซองแบบมีศูนย์มาก

Full Text:

PDF

References


กองมณี จะเลินวง. (2553). การใช้การวิเคราะห์การถดถอยปัวส์ซองเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการสูบบุหรี่ของบุคลากรสาธารณะสุข ประเทศ สปป. ลาว. ปริญญาสาธารณะสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสริมศักดิ์ พงษ์เมษา. (2545). แบบจำลองอุบัติเหตุสำหรับถนนสองช่องจราจรในเขตนอกเมือง. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เอกรินทร์ จันทวงค์. (2547). แบบจำลองอุบัติเหตุบริเวณสามแยกบนทางหลวงสองช่องจราจรนอกเมือง. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปฏิวิติ ฤทธิเดช. (2550). แบบจำลองทำนายอุบัติเหตุและจัดลำดับการปรับปรุงถนน บนถนนสองช่องจราจรในเขตนอกเมือง กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เมษา ทิพเวช. (2555). แบบจำลองคาดการณ์อุบัติเหตุสำหรับทางหลวงในเขตภูเขา.

ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

J. Scott Long and Jeremy Freese. (2006). Regression models for categorical dependent variables using data (2nd ed.). Stata Press.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.