แนวทางการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการนํ้าเสียใน เขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

ปนัดดา ปานแม้น

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาดัชนีคุณภาพนํ้าของลำคลองและแม่นํ้าลพบุรีในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี (2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การบริหารจัดการนํ้าเสียในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พร้อมทั้งเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมดังกล่าวจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อจัดทำแนวทางการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการนํ้าเสียในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตามลำดับ วิธีดำเนินการวิจัยกระทำโดยการตรวจวัดคุณภาพนํ้า ในลำคลอง 3 แห่งและในแม่นํ้าลพบุรีช่วงที่ไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รวมทั้งการใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม สถิติที่สำคัญซึ่งใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t - Test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) นอกจากนี้ยังใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อมาประมวลแนวทางการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการนํ้าเสียในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ด้วย
ผลของการวิจัยพบว่า
1) ดัชนีคุณภาพนํ้าของลำคลองและแม่นํ้าลพบุรีในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อยู่ใน
เกณฑ์คุณภาพนํ้าเสื่อมโทรมโดยมีค่า WQI เท่ากับ 38.48 ซึ่งเทียบได้กับแหล่งนํ้าผิวดินประเภทที่ 4 โดยมีคุณภาพนํ้าทั้ง 9 พารามิเตอร์ คือ 1) ความขุ่น มีค่าเฉลี่ย 58.46 เอ็นทียู 2) อุณหภูมิ มีค่าเฉลี่ย 11.56 องศาเซลเซียส 3) ปริมาณของแข็งทั้งหมด มีค่าเฉลี่ย 34.14 พีพีเอ็ม 4) ความเป็นกรด – ด่าง มีค่าเฉลี่ย 8.89 5) ฟอสเฟต มีค่าเฉลี่ย 11.10 มิลลิกรัม / ลิตร 6) ไนเตรท มีค่าเฉลี่ย 68.26 มิลลิกรัม / ลิตร 7) ออกซิเจนที่ละลายนํ้า มีค่าเฉลี่ย 10.69 มิลลิกรัม / ลิตร 8) ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ มีค่าเฉลี่ย 82.38 มิลลิกรัม / ลิตร และ 9) ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคัล มีค่าเฉลี่ย 18.48 เอ็ม พี เอ็น. / 100 มิลลิลิตร 

2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการนํ้าเสียในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.34, S.D. = 0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสงู สุดไดแ้ ก่ ด้านการมีส่วนร่วมค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา อยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.45, S.D. = 0.54) รองลงมาได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมวางแผนแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.39,S.D. = 0.50) และด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.31, S.D. = 0.57) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าที่สุดได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมติดตามประเมิลผล อยู่ในระดับปานกลาง (x= 3.24,S.D. = 0.58) และเปรยี บเทียบระดบั การมสีว่นรว่มของประชาชนในการบรหิารจดั การนำ้ เสยี ในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศและอายุต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการนํ้าเสียในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี ไม่แตกต่างกัน [Sig. เท่ากับ 0.46, 0.43 > ∝ (0.05)]แต่ประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว การปล่อยนํ้าเสียจากบ้านเรือนลงสู่แม่นํ้าลำคลองต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการนํ้าเสียในเขตเทศบาลเมืองลพบุรีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 [Sig. เท่ากับ 0.00*, 0.00*, 0.02*, 0.01* < ∝ (0.05)]

3) แนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการนํ้าเสียในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) หน่วยงานผู้รับผิดชอบควรดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารด้านมลพิษทางนํ้ามากขึ้นและควรให้ความสำคัญและสนับสนุนให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการแก้ไขมลพิษทางนํ้าทั้งระดับในครัวเรือนและระดับชุมชน 2) ควรมีการจัดงบประมาณเข้าช่วยในการอนุรักษ์แหล่งนํ้าในเขตเทศบาล 3) พัฒนาการศึกษา จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน เน้นความรู้เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายของประชาชนในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและส่งเสริมรณรงค์ให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการจัดการนํ้าเสียในชุมชน 4) สร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ให้กับประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวกับข้องด้วยการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เผยแพร่ข่าวาสารอบรมและให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ที่ถูกต้องและต่อเนื่องพร้อมทั้งชี้แจงให้ทราบถึงคุณประโยชน์ที่ได้รับจากแม่นํ้าลำคลองและผลเสียของการทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลลงแม่นํ้าลำคลอง 5) ควรมีการทบทวนการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลรักษาแม่นํ้าลำคลองให้กับพนักงานเทศบาลเมือง และ 6) ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาดูแลแม่นํ้าลำคลองในการที่จะรับรู้รับทราบปัญหา วางแผนและติดตามประเมินผล


Keywords


การมีส่วนร่วมของชุมชน; การบริหารจัดการนํ้าเสีย

Full Text:

PDF

References


กรมควบคุมมลพิษ. (2548). คู่มือการจัดการนํ้าเสียชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมศาสตร์.

____. (2552). การบริหารจัดการนํ้าเสียชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เทศบาลเมืองลพบุรี. (2551). แผนการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองประจำปี พ.ศ. 2551. ลพบุรี : เทศบาลเมืองลพบุรี.

วิวรรณ ขันธโภคัย. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนริมฝั่งแม่นํ้าเจ้าพระยาในการอนุรักษ์แหล่งนํ้า อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา. (2552). การเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า (Participatory Action Research : PAR). กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรนํ้า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สุวรรณี สิมะกรพิณธ์, ธิติมาเกตุแก้ว อมรรัตน์, ชัยกฤษฎาการ และ ปราณี แซ่เจ็ง. (2552). การจัดการความรู้เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพนํ้าในคลองสำโรง กรณีศึกษาตลาดนํ้าโบราณ บางพลี สมุทรปราการ. วารสารวิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2(6).

Taro Yamane. (1973). T Statistics. An introductory (2 nd ed). New York : Harper & Row.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.