การใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

เกษสุดา สุราฤทธิ์

Abstract


บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟประกอบการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา เรื่อง ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากเรียน เรื่อง ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชันโดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปากับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชันโดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังจากเรียน เรื่อง ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน 40 คน เครื่องมือในการวิจัย ครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสำรวจความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนรู้หลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ(Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบที (t-test)

ผลการศึกษาพบว่า

1. การใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 93.21/82.75สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้

2. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักศึกษามีความพึงพอใจในการใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก


Keywords


เครื่องคำนวณเชิงกราฟ, การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา, ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน

Full Text:

PDF

References


กมล เอกไทยเจริญ. (2547). พีชคณิตเชิงเส้นและเทคนิคการใช้ Graphing Calculator. กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ด.

ณัชชา กมล. (2542). ผลการใช้เครื่องคำนวณกราฟฟิกที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถ ด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (คณิตศาสตร์) จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

ทิศนา แขมณี. (2552). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

วราภรณ์ วรรณผ่อง. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามหลักซิปปาเรื่องอนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชุ้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญรัตน์การพิมพ์.

สุพล อินเดีย. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในกลุ่มสาระการเรียนรู้

คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ทศนิยม โดยใช้รูปแบบซิปปา.

ปริญญานิพนธ์ ค.ม. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุรเชษฐ์ บุญยรักษ์. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เครื่องคำนวณ

เชิงกราฟ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์.

ปริญญานิพนธ์ ค.ม.หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

Kasberg, S. & Leatham, K. (2005). Research on graphing Calculators at the Secondary Leval :Implications for Mathematics Teacher Education. Contemporary Issues in Technology and Teacher Education.

Lemlech, Johanna Kasin . (1984). Curriculum and instructional methods for the elementary school : amazon.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.