เกณฑ์การพัฒนาการคัดเลือกผู้ส่งมอบอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย

สิวัฒธิยาธรณ์ พิกุลศรี, จิรวรรณ เนียมสกุล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเกณฑ์และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญเพื่อพัฒนาเกณฑ์ที่ใช้สำหรับการคัดเลือกผู้ส่งมอบอย่างยั่งยืน ของกรณีศึกษาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง งานวิจัยครั้งนี้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น (Analysis Hierarchy Process: AHP) เพื่อหาค่าน้ำหนักความสำคัญของเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกผู้ส่งมอบอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบไปด้านมุมมองด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม ผลการวิจัยพบว่า ลำดับความสำคัญของเกณฑ์หลักในการคัดเลือกผู้ส่งมอบอย่างยั่งยืน ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ เกณฑ์หลักที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านราคา (ร้อยละ 24.8)  รองลงมาคือ ด้านคุณภาพ (ร้อยละ 19.2) ด้านความน่าเชื่อถือของบริษัท (ร้อยละ 13.1)  ด้านการบริการ (ร้อยละ 12.7 ) ตามลำดับ 2) ด้านสังคม เกณฑ์หลักที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ การรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ร้อยละ 8.7) รองลงมา คือ การปฏิบัติต่อพนักงาน  (ร้อยละ 7.7) ตามลำดับ 3) ด้านสิ่งแวดล้อม เกณฑ์หลักที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 7.3) รองลงมา คือ การด้านมลพิษ (ร้อยละ 6.5) ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์เชิงลำดับขั้นความสำคัญของเกณฑ์แบบครอบคลุมจากทั้งหมด 24 เกณฑ์ พบว่าเกณฑ์ที่มีค่าน้ำหนักความสำคัญเป็นอันแรก คือ ด้านราคาของสินค้า (ร้อยละ  16.70) รองลงมา คือ ด้านสินค้าตามข้อกำหนด/ข้อตกลง (ร้อยละ  10.51) และด้านเงื่อนไขการชำระเงิน (ร้อยละ  8.09) ตามลำดับ ซึ่งบริษัทกรณีศึกษามีการให้ค่าน้ำหนักความสำคัญโดยรวมต่อมุมมองด้านเศรษฐกิจมากที่สุด (ร้อยละ 69.72) ด้านสังคม (ร้อยละ 16.43) และด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 13.85) ตามลำดับ เกณฑ์ที่ได้จากงานวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ได้เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ส่งมอบมีความสอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัทกรณีศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถนำค่าน้ำหนักความสำคัญมาใช้ในการปรับปรุงแบบประเมิน ในการคัดเลือกผู้ส่งมอบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**