การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง พื้นที่ศึกษาตำบลปากน้ำปราณบุรี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

สิริรินทร์ มนตรีมุข, กาญจนา นาคะภากร, ศนิ ลิ้มทองสกุล

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งในพื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อหาอัตราการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในช่วงเวลา 20 ปี (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2564) ผลการศึกษาพบว่ามีชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะระดับปานกลาง เป็นระยะทางรวม 8.33 กิโลเมตร ชายฝั่งคงสภาพเป็นระยะทาง 5.25 กิโลเมตร และชายฝั่งที่เกิดการสะสมตะกอนเป็นระยะทาง 1.60 กิโลเมตร โดยเฉพาะชายฝั่งบริเวณชายหาดบ่อแก้ว และชายหาดปากน้ำปราณ เนื่องจากช่วงปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2554 เกิดการกัดเซาะในหลายพื้นที่ ต่อมาทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้มาตรการสีเทาหรือโครงสร้างแข็งทางวิศวกรรมชายฝั่งทะเลส่งผลให้อัตราการกัดเซาะลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงปี พ.ศ. 2564 อีกทั้งยังพบการสะสมของตะกอนทรายชายฝั่งอย่างต่อเนื่องบริเวณหาดปราณคีรีและหาดปากน้ำปราณ หมู่ 2 ทางตอนบนบริเวณท้ายโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องแม่น้ำปราณบุรี (Jetty) ซึ่งเป็นผลมาจาก Jetty ที่วางตั้งฉากกับแนวชายฝั่งเดิมส่งผลให้เกิดการกีดขวางการเคลื่อนที่ของตะกอนทรายชายฝั่งส่งผลให้ตะกอนทรายทับถมต่อกันไปเกิดเป็นหาดทรายที่งอกขึ้นมาใหม่ แต่ในขณะเดียวกันจากผลการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564 พบว่าบริเวณหาดปากน้ำปราณ หมู่ที่ 2 บริเวณสิ้นสุดโครงสร้างกำแพงกันคลื่นเดิมเกิดการกัดเซาะในระดับรุนแรงในอัตราการกัดเซาะเฉลี่ย 6 เมตร/ปี อันเป็นผลมาจากกำแพงกันคลื่นประเภทลาดเอียงแบบขั้นบันไดที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งกีดขวางก่อให้เกิดการเลี้ยวเบนของคลื่นทะเลและตะกอนทรายชายฝั่งไปยังบริเวณส่วนท้ายกำแพงกันคลื่นส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งตามมา

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**