การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยในกลุ่มชุดดินที่ 36 จังหวัดชัยนาท ด้วยการพัฒนาและประยุกต์ใช้แบบจำลองพืช

วรากรณ์ เรือนแก้ว, สุภาพร สุขโต, ไชยา บุญเลิศ, ปรีชา กาเพ็ชร

Abstract


การพัฒนาและประยุกต์ใช้แบบจำลองพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยในกลุ่มชุดดินที่ 36 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองพืชสำหรับใช้คาดการณ์ผลผลิตของอ้อยที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดชัยนาท และเพื่อยกระดับผลผลิตอ้อย ดำเนินการในปี 2565 - 2566 กลุ่มชุดดินที่ 36 จังหวัดชัยนาท วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำๆ ละ 5 กรรมวิธี ได้แก่ 1) การจัดการพันธุ์และปุ๋ยโดยวิธีของเกษตรกร 2) การจัดการพันธุ์ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเพียงอย่างเดียว 3) การจัดการพันธุ์ร่วมกับการใส่ปุ๋ยชีวภาพ 4) การจัดการพันธุ์ร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และ 5) การจัดการพันธุ์ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 75% ส่วนการจัดการแปลงอื่น ๆ ใช้ตามวิธีปฏิบัติของเกษตรกรผลการทดลอง ได้แก่ การให้น้ำ การกำจัดวัชพืช โรค แมลง เป็นต้น จากการทดสอบเทคโนโลยีจากแบบจำลองพืช พบว่า การใช้พันธุ์ KK07-037 ร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้  เปอร์เซ็นต์ Brix  ค่า CCS และผลผลิตน้ำตาล สูงที่สุดและมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญจากกรรมวิธีการจัดการพันธุ์ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 75% ขณะที่การทดสอบเทคโนโลยีด้วยการใช้พันธุ์ KK07-037 ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิตสูงที่สุดแต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับการใช้พันธุ์ KK07-037 ร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ โดยให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 12.02 และ 11.57 ตันต่อไร่ ตามลำดับ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**