การออกแบบโมเดลในการกำกับดูแลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัย
Abstract
ในปัจจุบันการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการสำหรับองค์กรต่างๆ และการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่ภาคธุรกิจเอกชนเท่านั้น สำหรับในมหาวิทยาลัยก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีการกำกับดูแลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านการเรียน ด้านการสอน ด้านการวิจัย และ ด้านการบริหารจัดการ บทความวิจัยนี้จึงได้นำกรอบการปฏิบัติ COBIT 2019 ไปใช้ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่ามีการบริการจัดการระบบการกำกับดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆในมหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อออกแบบโมเดลการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะเป็นการแนะนำแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกลยุทธ์หลักของมหาวิทยาลัย โมเดลที่ศึกษานี้ได้รับการประมวลผลจากกลุ่มประชากร 30 ท่าน ที่เป็นบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย โดยมาจากมหาวิทยาลัยรัฐบาล 22 ท่าน และมหาวิทยาลัยเอกชน 8 ท่าน ซึ่งให้ข้อมูลผ่านแบบสอบถามใน Google Form และผู้วิจัยได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ในเครื่องมือ COBIT 2019 Design Factor Toolkit ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีอยู่ 4 กระบวนการที่สามารถนำมาเป็นโมเดลหลักในการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ คือ (1) การบริหารจัดการที่เน้นผลตอบแทนจากการลงทุนพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) การบริหารจัดการความพร้อมใช้งานและขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงองค์กร (4) การบริหารจัดการโครงการ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นสำหรับมหาวิทยาลัย
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**