การพัฒนาถ่านดูดกลิ่นจากทุเรียนผลเล็กที่ถูกคัดทิ้งพร้อมบรรจุภัณฑ์

คมสัน มุ่ยสี, กฤษณะ จันทสิทธิ์, บุษรา บรรจงการ, มานพ วัยธรรม

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการผลิตถ่านดูดกลิ่นจากทุเรียนผลเล็กที่ถูกคัดทิ้ง ด้วยวิธีไพโรไลซิสพร้อมออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุถ่านดูดกลิ่น  ผลการศึกษาพบว่าถ่านดูดกลิ่นจากผลทุเรียนเล็กให้ค่าปริมาณไอโอดีนที่ถูกดูดซับได้ดีที่สุดจากการคาร์บอไนเซชันที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 150 นาที โดยมีปริมาณการดูดซับไอโอดีนเท่ากับ 283.31 มิลลิกรัมต่อกรัม สำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้นแบบสำหรับบรรจุถ่านดูดกลิ่นจากผลทุเรียนเล็ก จำนวน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) บรรจุถ่านดูดกลิ่นในถุงผ้าหลากสีก่อนบรรจุในถุงพลาสติก ขนาด 11.5 x 11.5 x 18 เซนติเมตร พร้อมติดฉลากสินค้าด้านนอกบรรจุภัณฑ์ 2) บรรจุถ่านดูดกลิ่นในถาดกระดาษหลุมก่อนบรรจุในกล่องกระดาษคราฟ ขนาด 15 x 15 x 3.5 เซนติเมตร พร้อมฉลากสินค้าแบบสายคาด 3) บรรจุถ่านดูดกลิ่นในถ้วยกระดาษคราฟก่อนบรรจุในกล่องพลาสติก ขนาด 9 x 9 x 8.5 เซนติเมตร พร้อมฉลากสินค้าแบบสายคาด ผลการทดสอบการยอมรับของบรรจุภัณฑ์ พบว่ารูปแบบบรรจุภัณฑ์ต้นแบบของถ่านดูดกลิ่นของทุเรียนผลเล็กที่ถูกคัดทิ้ง ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ แบบที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 51.5รองลงมาคือ แบบที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 26 และอันดับสามคือ แบบที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 22.5

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**