ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่เข็นรถเข็นนั่งด้วยตนเอง

กาญจนา ถัมพาพงษ์, วีรยา ประโมทยกุล

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการใช้รถเข็นนั่ง ความกังวลต่อการล้มและการมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่เข็นรถนั่งด้วยตนเอง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่เข็นรถนั่งด้วยตนเอง เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางในอาสาสมัครผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่เข็นรถนั่งด้วยตนเอง จำนวน 44 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายคิดเป็น ร้อยละ 72.73 อายุเฉลี่ย 32.95 (±1.26) ปี และเป็นผู้ป่วยอัมพาตท่อนล่าง ร้อยละ 86.36 ระยะเวลาหลังการบาดเจ็บเฉลี่ย 7.75 (±1.33) ปี และประสบการณ์การใช้รถเข็นนั่งเฉลี่ย 6.93 (± 1.52) ปี ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้รถเข็นนั่งมีระดับทักษะการใช้รถเข็นนั่งภายในอาคารอยู่ในระดับสูง ทักษะการใช้รถเข็นนั่งในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง กิจกรรมที่กังวลต่อการล้ม 3 อันดับแรก คือ 1) การเข็นรถเข็นนั่งขึ้นหรือลงขอบฟุตบาทหรือร่องระบายน้ำที่บริเวณขอบถนน 2) การยกของหนักข้ามลำตัว 3) การเข็นรถเข็นนั่งบนพื้นผิวไม่ราบเรียบ อาสาสมัครมีการระดับการรับรู้การมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันด้านการทำงานและการศึกษาน้อยที่สุด ตัวแปรที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวัน คือ 1) ทักษะการใช้รถเข็นนั่งทั้งในด้านผลการปฏิบัติ และความถี่ในการทำทักษะนั้นๆ 2) ความกังวลต่อการล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P< 0.05 และสามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่เข็นรถเข็นนั่งด้วยตนเองได้ร้อยละ 48.4

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**