การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในการเรียน ของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6

นุกูล คงเพชรศักดิ์, ผกาวรรณ นันทะเสน

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเครียดในการเรียนของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 2) เปรียบเทียบระดับความเครียดในการเรียนของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6  ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ  5 องค์ประกอบกับความเครียด ในการเรียนของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6   กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จำนวน 496 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนนายสิบตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 มีระดับความเครียดในการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ( =0.87,S.D.=.759) 2) เมื่อเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความเครียดในการเรียนของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 พบว่าไม่แตกต่างกัน มีเพียงปัจจัยส่วนบุคคลด้านประสบการณ์  การทำงานเท่านั้นที่ระดับความเครียดในการเรียนแตกต่างกัน  3) ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบกับความเครียดในการเรียนของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 พบว่า บุคลิกภาพแบบหวั่นไหวกับความเครียดในการเรียนมีความสัมพันธ์ ทางลบในระดับปานกลาง (r = -.568) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 บุคลิกภาพแบบแสดงตัวกับความเครียดในการเรียนมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ (r =-.448) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 บุคลิกภาพแบบประนีประนอมกับความเครียดในการเรียนมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง (r=-.601)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกกับความเครียดในการเรียนมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ (r= -.466) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์กับความเครียดในการเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมาก (r=.019) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**