เสียงสะท้อนจากวัสดุเหลือใช้: นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

กชพร อู่ไพบูรณ์, เอกราช เจริญนิตย์, ธีระพงศ์ บุศรากูล, ดาวรุ่ง วัชรินทร์รัตน์, ภัทราภรณ์ อู่ไพบูรณ์

Abstract


งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์จากกิจกรรมเสียงสะท้อนจากวัสดุเหลือใช้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อกิจกรรมเสียงสะท้อนจากวัสดุเหลือใช้ โดยการเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) ด้วยวิธีการเจาะจง (Purposive sampling) จากโครงการศิลปะเพื่อความสนุกสนาน (Re Art for Fun) และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จำนวน 20 คน ทำแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความคิดสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ในกิจกรรมดนตรีจากการใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการต่อยอดทางความคิดสร้างสรรค์ 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) และความคิดละเอียดลออ (Elaboration) ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ที่นักเรียนมีพัฒนาการสูงที่สุด คือ ความคิดยืดหยุ่น ได้คะแนนรวม 28.5 คะแนน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่จะได้รับคะแนนเฉลี่ยด้านความคิดยืดหยุ่นต่อคนอยู่ที่ 4.75 คะแนน หรือคิดเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ และ 2) ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมเสียงสะท้อนจากวัสดุเหลือใช้อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.60)

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**