ประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษากฎหมายในคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด : กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดพะเยา
Abstract
การกระทำความผิดอาญาของเด็กและเยาวชนอาจมีปัจจัยที่หลากหลาย ประกอบด้วยความอ่อนด้อยทางวุฒิภาวะของเด็กและเยาวชน กฎหมายจึงกำหนดให้มีที่ปรึกษากฎหมายแก่เด็กและเยาวชนเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งในกระบวนการสอบสวนและการพิจารณาคดีให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการมีที่ปรึกษากฎหมายในคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด และอุปสรรคและข้อจำกัดที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษากฎหมาย โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยแบบสอบถามจำนวน 100 ราย จากการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลเชิงลึก มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน ที่ปรึกษากฎหมาย เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน นักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยา ผู้ปกครองของเด็กหรือเยาวชน โดยศึกษาเฉพาะในพื้นที่จังหวัดพะเยา พบว่า การปฏิบัติหน้าที่ในสำนวนคดีของที่ปรึกษากฎหมายควรเป็นคนเดียวกันจนกว่าคดีจะยุติหรือคดีถึงที่สุด ดังนั้น จึงควรเพิ่มเติมกฎ ระเบียบสำหรับการทำหน้าที่ของที่ปรึกษากฎหมายในการติดตามดูแลเด็กและเยาวชนเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และควรเพิ่มเติมคุณสมบัติด้านประสบการณ์การทำงาน ความเชี่ยวชาญของที่ปรึกษากฎหมายเพื่อส่งเสริมให้การทำหน้าที่มีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**