ประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบสาบเสือในการยับยั้งเชื้อ Ralstonia solanacearum ในขิง

สุพัฒนา จันทา, นฤมล พินเนียม ชนะไพฑูรย์

Abstract


การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบสาบเสือ 3 ช่วงอายุ คือ ใบสาบเสือแก่ ใบสาบเสืออ่อน และใบสาบเสือผสม โดยใช้ตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ น้ำกลั่น และเอทานอล 95% ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Ralstonia solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวในขิง โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ขั้นตอน แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์ค่าสถิติความแปรปรวน (ANOVA) ตามวิธีการทดลองแบบ CRD โดย  เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มการทดลองโดยวิธี Duncan’s Multiple Range Test (DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ในขั้นตอนที่ 1 ทดสอบการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย (Inhibition Zone) ด้วยวิธี Paper disc agar diffusion บนอาหาร Tetrazolium chloride พบว่า สารสกัดหยาบจากใบสาบเสือทั้ง 3 ชุดช่วงอายุที่ใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลายไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ แต่สารสกัดจากใบสาบเสือแก่ อ่อน และใบสาบเสือผสมด้วยตัวทำละลายเอทานอล 95% ที่ความเข้มข้นของสารสกัด 100,000 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ 4.0, 3.2 และ 3.0 มิลลิเมตร ตามลำดับ ขั้นตอนที่ 2 ทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (Minimal Inhibitory Concentration: MIC) ด้วยวิธี Broth dilution technique พบว่า สารสกัดจากใบสาบเสืออ่อน ใบสาบเสือผสม และใบสาบเสือแก่ ที่สกัดด้วยเอทานอล 95 % มีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรีย R. solanacearum. ได้สูงสุดที่ความเข้มข้น 25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และขั้นตอนที่ 3 ทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ (Minimal   Bactericidal Concentration: MBC) ด้วยวิธี Spread plate พบว่า สารสกัดจากใบสาบเสือแก่ และใบสาบเสือผสมที่สกัดด้วยเอทานอล 95% มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อแบคทีเรีย R. solanacearum. ได้ที่ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**