การสร้างขาตั้งไม้ระดับเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการทำระดับ

สมภพ เพ็ชรดี

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างขาตั้งไม้ระดับ และเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบระหว่างการทำระดับโดยใช้บุคคลถือไม้ระดับกับการทำระดับโดยใช้ขาตั้งไม้ระดับ โดยขาตั้งไม้ระดับเมื่อสร้างเสร็จแล้วได้มีการประเมินการใช้งานขาตั้งไม้ระดับ การเก็บข้อมูลเป็นวิธีการทำระดับแบ่งวิธีการทำระดับเป็น2 วิธี คือ การทำระดับโดยใช้บุคคลถือไม้ระดับ และการทำระดับโดยใช้ขาตั้งไม้ระดับที่สร้างขึ้น โดยทำระดับ Differential Double Runสายการระดับวงรอบปิดออกจากหมุดหลักฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง หมายเลข ลย. 9 - 72 มีค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 241.410 เมตร แล้วเข้าบรรจบกับหมุดหลักฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง หมายเลข ลย. 9 – 72 ที่เป็นหมุดหลักฐานแรกออกรวมระยะทาง 1.4205 กิโลเมตร โดยใช้ข้อกำหนดชั้นงานระดับชั้นที่ 3 ความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบไม่เกิน 12 หลังจากนั้นเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบระหว่างการทำระดับโดยใช้บุคคลถือไม้ระดับกับการทำระดับโดยใช้ขาตั้งไม้ระดับ ผลการวิจัยพบว่าขาตั้งไม้ระดับที่สร้างขึ้นสามารถทำให้ไม้ระดับทรงตัวนิ่งอยู่ในแนวดิ่งได้โดยตำแหน่งของไม้ระดับในการเปลี่ยนจากไม้หน้าเป็นไม้หลังยังคงอยู่ในตำแหน่งและระดับตามเดิม และการทำระดับโดยใช้บุคคลถือไม้ระดับมีความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบเฉลี่ย 0.0092เมตร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.002 เมตร ส่วนการทำระดับโดยใช้ขาตั้งไม้ระดับมีความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบเฉลี่ย 0.0042เมตร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.001เมตร แสดงให้เห็นว่าการทำระดับโดยใช้ขาตั้งไม้ระดับมีความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบน้อยกว่าการทำระดับโดยใช้บุคคลถือไม้ระดับ 0.005 เมตรซึ่งการทำระดับโดยใช้ขาตั้งไม้ระดับที่สร้างขึ้นสามารถลดความคลาดเคลื่อนในการทำระดับลงได้

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**