ผลของการอบแห้งด้วยลมหมุนต่อสีของมะม่วงสุก

วิลาวัณย์ จึงมานะกิจ, ธัชพงศ์ ชูศรี

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของลักษณะการไหล และอุณหภูมิของลมร้อนต่อจลนพลศาสตร์ และสีของมะม่วงสุกตลอดกระบวนการอบแห้ง โดยลักษณะการไหลของลมร้อนที่ใช้ในการอบแห้งประกอบด้วยการไหลแบบลมตรง และลมหมุน ส่วนอุณหภูมิลมร้อนเป็น 50 60 และ 70C ใช้ความเร็วลมคงที่ 2 m/s การติดตามการเปลี่ยนแปลงสีของตัวอย่างในระหว่างกระบวนการอบแห้งจะใช้ระบบ Computer Vision System (CVS) และประมวลผลภาพ (Image processing) เพื่อวิเคราะห์สีของตัวอย่างเป็นค่า L*, a*, b* และ ΔE* จากการศึกษาพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้น (Effective moisture diffusivity: Deff ) จากการการอบแห้งด้วยลมหมุนมีค่าสูงกว่าแบบลมตรง โดยการอบแห้งที่อุณหภูมิสูงมีค่า Deff สูงกว่าการอบแห้งที่อุณหภูมิต่ำ โดยค่า Deff จากการอบแห้งแบบลมตรง และลมหมุนที่อุณหภูมิลมร้อนเป็น 50 60 และ 70C มีค่า (1.24, 1.45, 1.95, 1.30, 1.96, 2.30)´10-9m2/s ตามลำดับ ในระหว่างกระบวนการอบแห้ง ΔE* มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นแสดงถึงสีของตัวอย่างโดยรวมมีการเปลียนแปลงไปจากเดิมมากขึ้นตลอดกระบวนการ ΔE* ของตัวอย่างจากการอบแห้งแบบลมตรง และลมหมุนที่อุณหภูมิลมร้อนเป็น 50 60 และ 70C มีค่า 0.215, 0.409, 0.301 และ 0.238, 0.317, 0.253 ตามลำดับ จากแนวโน้มของค่า ΔE* จะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงสีของตัวอย่างจากการอบแห้งแบบลมหมุนเกิดขึ้นน้อยกว่าแบบลมตรง

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**