การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

นิยม บุระคร

Abstract


โรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะเรื้อรังที่พบมากขึ้นในปัจจุบันและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญยิ่ง การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบ แบบสอบถาม และแบบบันทึก ดำเนินการวิจัยในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2560 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Paired t-test, independent t-test

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองภายหลังการทดลอง มีความรู้การรับรู้ ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการกระทำ และพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย สูงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ จำนวน 27 คน ส่วนอีก 8 คน ยังควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อน ทางไต และภาวะความเครียดจากปัญหาครอบครัว และกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**