การเกิดก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมระหว่างตะกอนจากบ่อเลี้ยงกุ้งร่วมกับของเสียกลีเซอรอล
Abstract
การศึกษาประเมินศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมของตะกอนจากบ่อเลี้ยงกุ้ง ร่วมกับของเสียกลีเซอรอลจากการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลด้วยวิธีบีเอ็มพี ที่อัตราส่วนผสมแตกต่างกัน 6ค่าตั้งแต่1:0 ถึง 1:6 (w/w สารอินทรีย์ระเหยได้) พบว่าที่อัตราส่วน 1:2 ให้ผลผลิตก๊าซชีวภาพสะสมสูงที่สุด เท่ากับ 329.9ลิตร/กิโลกรัมของของแข็งระเหยง่ายเริ่มต้น เมื่อนำอัตราส่วนผสมที่ดีที่สุด (1:2)จากการทดลองด้วยวิธีบีเอ็มพี มาทดลองต่อโดยการหมักระบบหมักแบบไร้อากาศด้วยถังปฏิกิริยากวนสมบูรณ์ แบบ 2 ขั้นตอน ที่ประกอบด้วยถังหมักและถังสร้างก๊าซชีวภาพที่เป็นระบบถังกวนสมบูรณ์ที่มีการเดินระบบแบบต่อเนื่อง ที่ระยะเวลาเก็บกัก 6 และ 5 ตามลำดับ โดยปรับเปลี่ยนอัตราภาระบรรทุกของน้ำเสียจากถังหมักกรดเข้าถังสร้างก๊าซชีวภาพ 1.5, 2.0, 2.4 และ 3.0 กรัม/ลิตร พบว่าที่อัตราภาระบรรทุก 2.4 กรัม/ลิตร ระบบมีประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพเหมาะสมเท่ากับ 19.44 ลิตรต่อกรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด โดยระบบสามารถกำจัดซีโอดีได้สูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 86.96
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**