การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง
Abstract
งานวิจัยเรื่องการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์(3)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเชิงพาณิชย์ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS FOR WINDOWS หาค่าสถิติพื้นฐาน ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้วิธีประมวลผลทางสถิติเชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ จะทดสอบด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product – Moment Correlation Coefficients)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 30 - 40 ปี สถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกัน การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระยะเวลาก่อตั้งกิจการมากกว่า 2 ปี ทุนดำเนินกิจการระหว่าง 50,000 – 100,000 บาท ประเภทกิจการเจ้าของคนเดียว และมีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 50,000 – 100,000 บาท
ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในภาพรวม พบว่า เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเชิงพาณิชย์ในจังหวัดกาฬสินธุ์มีความเห็นต่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.05, S.D. =0.22) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการจัดการผลผลิตกุ้งก้ามแดง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก (= 4.13, S.D. =0.33) รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดหาวัตถุดิบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.88,S.D. =0.29) ด้านการจัดการฟาร์มกุ้งก้ามแดง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.49,S.D. =0.22) ด้านการส่งผลผลิตกุ้งก้ามแดงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.39,S.D. =0.24) ด้านการจัดการข้อมูลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.27,S.D. =0.17) และด้านการจัดการตลาดกุ้งก้ามแดง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.02,S.D. =0.24) ตามลำดับ
ผลการศึกษาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05 S.D. = 0.22) และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าราคากุ้งก้ามแดงของกิจการมีราคาไม่เกินกว่าราคากลางที่กำหนดมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51S.D. = 0.80) รองลงมาคือ มีความรวดเร็วในการจัดส่งกุ้งก้ามแดง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.49S.D. = 0.64) และกิจการนำอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้ในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บกุ้งก้ามแดงมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.61 S.D. = 0.83)
ผลการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเชิงพาณิชย์ในจังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีเพศประเภทกิจการและรายได้ของกิจการ (ต่อเดือน)ต่างกัน มีความความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเชิงพาณิชย์ในจังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีอายุสถานภาพสมรสระดับการศึกษาระยะเวลาก่อตั้งกิจการ และทุนดำเนินกิจการต่างกัน มีความความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์พบว่า ด้านการจัดการฟาร์มกุ้งก้ามแดงด้านการจัดการข้อมูลด้านการจัดหาวัตถุดิบมีความสัมพันธ์กับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับต่ำมาก และด้านการจัดการผลผลิตกุ้งก้ามแดง ด้านการจัดการตลาดกุ้งก้ามแดง ด้านการส่งผลผลิตกุ้งก้ามแดงความสัมพันธ์กับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งนี้คือ เกษตรกรควรสร้างรายได้เสริมให้กับฟาร์มและกระตุ้นความต้องการทางการตลาด ควรมีหน่วยงานที่จัดทำฐานข้อมูล มีการพิจารณาการเลือกซื้อพันธุ์กุ้งก้ามแดงเริ่มหาแหล่งรองรับซื้อกุ้งก้ามแดงในพื้นที่ เน้นการติดต่อกับลูกค้าสม่ำเสมอ และควรมีการประเมินผลจากการส่งผลผลิตกุ้งก้ามแดงFull Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**