การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพองค์กร ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง และสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนา
รูปแบบการบริหารคุณภาพองค์กรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2)เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพองค์กรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ใช้วิธีการวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (Needs Assessment Research) วิธีดำเนินการแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 1) กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) ศึกษาสภาพที่เป็นจริง และสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพองค์กรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพองค์กรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการกลุ่มในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 612 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าความต้องการจำเป็นโดยวิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง (PNI Modified)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพที่เป็นจริงของการบริหารคุณภาพองค์กรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษารวมทุกด้าน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (mean = 3.93, S.D. = .719)
2. สภาพที่ควรจะเป็นของการบริหารคุณภาพองค์กรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษารวมทุกด้าน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (mean = 4.40, S.D. = .588)
3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพองค์กรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยรวมทุกด้าน กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการจำเป็นทุกรายการ โดยมีค่า PNI Modifiedอยู่ระหว่าง 0.16 ถึง 0.12 โดยภาพรวมเฉลี่ย 0.12
Keywords
Full Text:
PDFReferences
ญาณิศา บุญจิตร์. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2545). การจัดการคุณภาพ: จาก TQC ถึง TQM, ISO 9000 และการประกันคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
สมเกียรติ ชิดไธสง. (2553). การพัฒนาระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา. วิยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. ผู้แต่ง.
________. (2552). สรุปผลการติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบาย สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2551 ระยะที่ 2 (A2) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.
กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2555). กรุงเทพฯ: สืบค้นเมื่อ 5/3/2012./จาก www.opdc.go.th.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.
Juran, J.M. (1989). Juran’s quality control handbook 4th ed. New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research. In Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Refbacks
- There are currently no refbacks.