การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21

เอมอร โลหิต

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการปฏิบัติ เพื่อเตรียมการปฏิบัติการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ตามกรอบแนวคิด แนวทางการบริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็น 3 ตัวชี้วัด คือ คุณภาพนักเรียน คุณภาพครู คุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน 288 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามตามมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert Type) จำนวน 52 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ สถิติทดสอบเอฟ (F - test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมสถานศึกษาทุกขนาดมีการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา
เป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
2. สถานศึกษาขนาดเล็กมีการการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทุกด้านมากกว่า
สถานศึกษาขนาดกลาง และสถานศึกษาขนาดใหญ่ และสถานศึกษาขนาดเล็กมีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทุกด้านมากกว่าสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่อย่างมีระดับนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอแนะการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
3.1 ด้านคุณภาพนักเรียนที่ควรดำเนินการสูงสุด คือ รัฐบาลควรมีการจัดสรรงบประมาณในการจัดหาสื่อประกอบการเรียนการสอน และ ควรมีวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ

3.2 คุณภาพครู ที่ควรดำเนินการสูงสุด คือ ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้เข้ากับประชาคมอาเซียน รองลงมาคือ ครูต้องมีทักษะด้านภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
3.3 ด้านคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา ที่ควรดำเนินการสูงสุด คือ ผู้บริหารควรมีการสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน


Keywords


การบริหารจัดการเรียนรู้; ประชาคมอาเซียน

Full Text:

PDF

References


กรมอาเซียน. (2552). บันทึกการเดินทางอาเซียน. กรุงเทพฯ: วิธิตาแอนิ เมชั่น.

การประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ, สำนัก. (2552). ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ: เปเปอร์เฮาส์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ (ออนไลน์). (2555) สืบค้นจากhttp://www.asean.moe.go.th (3 ธันวาคม 2555).

ชินภัทร ภูมิรัตน์. (2552). การจัดการความรู้ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

พรศ ทิวารัศชัย. (2555). การเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการในชั้นเรียนของครูโรงเรียนสัตหีบ เขตฐานทัพเรือและเขตกองเรือยุทธการ สังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

สู่ประชาคมอาเซียน. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยัยบูรพา.

ภณ ใจสมัคร. (2553). การเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิษณุโลก.

สมใจ กงเติม. (2555). การศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 - 2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักนโยบายด้านการศึกษามหภาค สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

เป้าหมายยุทธศาสตร์และตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 -2561). ค้นเมื่อ มีนาคม 2554. จาก http://www.once.go.th.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.