การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 45

อรุณี ศรีสิทธิชูชาติ

Abstract


การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ
หลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมที่ประเมินหลังเรียนกับเกณฑ์ที่คะแนนร้อยละ 60 และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 45 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 45 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 1 2) แบบทดสอบวัดทักษะทางสังคม 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ t - test Dependent วิเคราะห์คะแนนจากแบบทดสอบวัดทักษะทางสังคม โดยการเปรียบเทียบเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยใช้ One Sample t - test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจรายข้อโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างการวิจัย หลังการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้
แบบโครงงานสูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. คะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมของกลุ่มตัวอย่างการวิจัยที่ประเมินหลังเรียนแบบโครงงาน
พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด


Keywords


การเรียนรู้แบบโครงงาน; ทักษะทางสังคม

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2546). โครงงาน (Project Approach). ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์.

ดวงพร อิ่มแสงจันทร์. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและความสามารถใน การแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บัญชร จันทร์ดา. (2553). หลักการและแนวคิดการจัดการศึกษาสงเคราะห์แนวใหม่. พิษณุโลก :

การพิมพ์ดอทคอม.

ปัญญา ศรีผายวงษ์. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานในรูปแบบบริษัทจำลอง

รายวิชาโครงงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชาทักษะชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:อนุสารการพิมพ์.

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 45. (2555). เอกสารงานวิชาการ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 45

จังหวัดกาญจนบุรี.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพฯ: สาฮะแอนด์ซัน พริ้นติ้ง.

วัจนา พิพัฒน์ทศพล. (2546, พฤษภาคม). “การเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project-Based Learning),” วารสารการศึกษา กรุงเทพฯ. 26(8) : 29-31.

วัฒนา มัคคสมัน. (2551). การสอนแบบโครงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ. ปริญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.

สมวงษ์ แปลงประสพโชค และคณะ. (2545). เอกสารประกอบการอบรมครู เรื่อง “โครงงานคณิตศาสตร์”. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏพระนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ:

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). สร้าง EQ ให้ลูกคุณ. กรุงเทพฯ: ซันด้าการพิมพ์.

Howick, T.S. (1992,). “Case Study of a Sixth-Grade Class Using Marine Science Project : For SEA,” Dissertation Abstracts International. 52(6) : 4283–A.

Riggio, R.E. (1989). Social Skills Inventory Manual. California : Consulting Psychologists Press.

Rolf, J. Lenschow. (1996). European Journal of Engineering Education. [online]. Trujillo, Karen Marie. (1998). Student Attitudes Toward Mathematics Prohjicets. (Alternative Assessment, Cooperative Learning.) Dissertation Abstracts International Learning (Online).


Refbacks

  • There are currently no refbacks.