แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ ของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42

สุกัญญา ตลอดภพ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
วิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 มีวิธีการดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพทางการมีส่วนร่วมประชากร ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวนทั้งสิ้น 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่มัชฌิมเลขคณิต (μ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 2) เสนอแนวทางการมีส่วนร่วม โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 โดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อวิเคราะห์สภาพการมีส่วนร่วมรายด้าน พบว่า ด้านที่มีส่วนร่วมมากที่สุดคือ
ด้านการระดมทรัพยากรทางการศึกษาอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีส่วนร่วมน้อยสุดคือด้านการจัด
กระบวนการเรียนรู้
2. แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
ด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผน มีแนวทางดังนี้ การสรรหาคณะอนุกรรมการในการจัดทำ
ร่างนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา การกำหนดแผนการดำเนินการและ การรายงานผลการกำกับและติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแผนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรายงานผลการดำเนินงานประจำปีและให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาด้านการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา มีแนวทางดังนี้ การมีส่วนร่วมประชุมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ และร่วมกันวางแผนการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา การมีส่วนร่วมในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และการกำกับ ติดตาม การนำผลการประเมินมาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา

ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีแนวทางดังนี้ การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนในการทำวิจัย
ในชั้นเรียนของครูเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การจัดอบรมหรือศึกษาดูงาน การสนับสนุนรางวัลเพื่อ
เชิดชูเกียรติ และเป็นขวัญกำลังใจสำหรับครูที่มีผลงานในการพัฒนาการจัดเรียนการสอน การมีส่วนร่วม
ในการจัดหา ผลิตสื่อเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลาย และการมีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตามคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องด้านการระดมทรัพยากรทางการศึกษา มีแนวทางดังนี้ การมีส่วนร่วมประชุมเพื่อสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการทรัพยากรต่าง ๆ การจัดหาวิทยากร งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การมีส่วนร่วมกำกับติดตามการใช้วิทยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น การกำหนดวิธีการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการใช้งบประมาณ การให้ข้อเสนอแนะและปรับปรุง การใช้งบประมาณทางด้านงานวิชาการของสถานศึกษา


Keywords


การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ; คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Full Text:

PDF

References


กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทพิมพ์.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการวิเคราะห์สาระสำคัญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). นโยบายกรมสามัญศึกษา ปีงบประมาณ 2545. กรุงเทพฯ: กรมสามัญศึกษา.

________. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวของและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

________. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

________. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ช่อรัตร์ดา เกสทอง. (2551). การนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ณัฐพงษ์ กิติทรัพย์กาญจนา. (2551). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

บัญชา แสนทรี.(2545). การวิจัยในชั้นเรียนจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ ศรีจันทร์. (2548). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของ

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอบรรพตพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

นครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ประกิต รัตนสุวรรณ. (2525). การวัดผลประเมินผลทางการศึกษา : ม.ป.ท.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: สหมิตรออฟเวท.

วรรณภา ยาสุทธิ. (2554). แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนตามความคิดของคณะกรรมการ

สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในอำเภอแม่วงก์

จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อรนุช คำสิงห์. (2555). บทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของคณะกรรมการ

สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัมหาสารคาม.

อำภา บุญช่วย. (2537). การบริหารงานวิชาการโรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการบริหารวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: เอส ดี เพรส.

เอื้องทิพย์ สีเหนี่ยง. (2551). การนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตอำเภอสว่างอารมณ์ สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.