ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกัน โรคไข้หวัดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

วัลลภา วาสนาสมปอง

Abstract


การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีแบบแผน
ความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำการศึกษาในกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวจำนวน 90 คน วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One-group Pretest – Posttest) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคไข้หวัดและแบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้หวัด การรับรู้ประโยชน์การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไข้หวัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มทดลองและสถิติเชิงอนุมานใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ Paired Sample t-test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องโรคไข้หวัดและการรับรู้เกี่ยวกับการเกิดโรคและการป้องกันโรคไข้หวัด สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดทำให้นักเรียนมีความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดเพิ่มขึ้นจึงสามารถนำโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎี แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพนี้ไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอื่น ๆในเด็กนักเรียนระดับได้


Keywords


โปรแกรมสุขศึกษา; ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ; การป้องกันโรคไข้หวัด

Full Text:

PDF

References


พวงทอง ไกรพิบูลย์. โรคหวัด (common cold). ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2557, จาก หาหมอดอมคอม เว็บไซด์: haamor.com/th/ไข้หวัด/

ศรัณยา เพิ่มศิลป์. (2556). ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับบริการ

ที่โรงพยาบาลอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. โครงการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15.

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ไข้หวัด (common cold). ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2557,

จาก Drug & Health information unit เว็บไซด์:http://thaiwonders.com/pharma/index.php?

option=com_content&task=view&id=143&Itemid=49

เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief model). ค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2557, จาก Go to Know เว็บไซด์: https://www.gotoknow.org/posts/115420.

Benjamin S Bloom. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York. McGraw-Hill.

ศิวัชญ์ ทองนาเมือง. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี แบบแผนความเชื่อ

ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ และโรคมะเร็งท่อนํ้าดีในนักเรียนประถมศึกษา อำเภอเยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. เม.ย. - มิ.ย. 2555; 80-91.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.