ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ละมัย แก้วสวรรค์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์
ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด
คอนสตรัคติวิสต์ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ภายหลังการควบคุมตัวแปรพื้นฐานความรู้เดิม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต) จำนวน 38 คนและโรงเรียนหัวหมากจำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ 2) แบบทดสอบวัดพื้นฐานความรู้เดิม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
กลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2)นักเรียนกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Keywords


แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์; ความคิดสร้างสรรค์

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้

คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

จามรี สมานชาติ. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อคณิตศาสตรืของนักเรียน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอน เรื่องความน่าจะเป็นตามแนวคิด

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสตืกับทฤษฎีพหุปัญญา. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรและ

การสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฏีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกเกษ ชนะโยธา. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจ

ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สร้างขึ้นตามทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. เทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มณิภา เรืองสินชัยวานิช. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. ปริญญา กศ.ม.

สาขาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริเพ็ญ ไหมวัด. (2551). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนตามแนวทฤษฏี

คอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาปีที่ 6.

ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สาริศา จันทร์แรม. (2548). ผลของการเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องเศษส่วน

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.

ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุชาติ เหลาโชติ. (2550). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลด้านการรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนและ

ความคิดแนวข้างที่สัมพันธ์กับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครปฐม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. การวิจัยและ

สถิติทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุมาลี ขจรไพร. (2550). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิด

ทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สรัตนาภรณ์ ศาสตร์นอก. (2550). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์

ตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.

ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2556). สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 20, 2556, จาก http:www.onesqa.or.th/onesqalth/event photo/

php? ID=399&koy.

Janjai. S. (2012). Improvement of the Ability of the Students in an Education Program to Design the Kesson Plans by using an Instruction Model based on the Theories of Constructivism

and Metacognition. Available online at www.sciencedirect.com.

Lillian O. Kang,Pharm.D. (2010). Constructivism in pharmacy school. Available online at www.Sciencedirect.co.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.