การพัฒนาคู่มือครูในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปราณบุรี - สามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคู่มือครูในการจัดกิจกรรม
เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ 2) พัฒนาคู่มือครู 3) ทดลองใช้คู่มือ 4) ประเมินผลคู่มือ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ปรึกษาและนักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 43 คน ของโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านตาลเจ็ดยอด และโรงเรียนเทศบาลบ้านไร่ใหม่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คู่มือที่สร้างขึ้นทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ระยะเวลาที่ใช้ 10 สัปดาห์ แบบแผนการทดลอง คือ One - shot case study design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คู่มือครูในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ แบบประเมินความสามารถ ในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ แบบประเมินความคิดเห็นของครู ที่ปรึกษา และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ผู้บริหารและครู ต้องการให้มีคู่มือกิจกรรมเพื่อสังคมและ
สาธารณประโยชน์ เพื่อให้ครูได้นำไปใช้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับนักเรียน
โดยมีกิจกรรม มีภาพประกอบ แบบประเมินและนำไปใช้ได้จริง
2. ผลการออกแบบและพัฒนาคู่มือ พบว่า คู่มือ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ขอบข่ายเนื้อหา
คำแนะนำการใช้คู่มือ แบบประเมิน เกณฑ์การประเมิน แบบสรุป แบบบันทึก ในส่วนของเนื้อหาแบ่งเป็น
4 บท คือ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน บทที่ 3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และบทที่ 4 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
3. ผลการทดลองใช้คู่มือ พบว่า ครูที่ปรึกษามีการปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้คู่มือ ตลอดจน
มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
4. ผลการประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไขคู่มือ พบว่า หลังใช้คู่มือจัดกิจกรรมตามที่กำหนด ครูที่ปรึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ อยู่ในระดับคุณภาพดี
ครูที่ปรึกษามีความสามารถในการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับคุณภาพดี ครูที่ปรึกษามีความเห็นว่า คู่มือ
มีความเหมาะ ด้านองค์ประกอบคู่มือ มีคำชี้แจงการ วิธีการใช้คู่มือชัดเจน ด้านเนื้อหา มีเนื้อหาครอบคลุมมีภาพประกอบทำให้คู่มือมีความน่าสนใจ ด้านกิจกรรม สามารถนำไปปฏิบัติใช้งานได้จริง ด้านการวัดและประเมินผล มีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้วัดผลผู้เรียนได้จริง และนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับคุณภาพดี
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กาญจนา หลวงจอก. (2547). การพัฒนาคู่มือการศึกษาผู้เรียนเป็นรายกรณีสำหรับครูที่ปรึกษา.
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คีรีบูนย์ จงวุฒิเวศย์และมาเรียม นิลพันธุ์. (2542). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาและการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.).
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
นุดี รุ่งสว่าง. (2543). การพัฒนาคู่มือการสร้างหลักสูตรระดับโรงเรียนสำหรับครูประถมศึกษา.
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปทุมทิพย์ ดีบุกคำ. (2548). การพัฒนาคู่มือแนะนำกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัฒนา ฉิมประเสริฐ. (2554). การพัฒนาคู่มือครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมระเบียบวินัยของนักเรียน
ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5.
ปริญญาศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เสถียร คามีศักดิ์. (2549). การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน. ใน เอกสารประกอบการปรุชมข้าราชการ
ตำแหน่ง ประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ เชี่ยวชาญเฉพาะ และพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน
วิชาการ. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์สภาข้าราชการและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Refbacks
- There are currently no refbacks.