ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขแท้ตามความเป็นจริง
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถกคำถามทางปรัชญาว่า “มนุษย์จะได้ความสุขแท้จากการประพฤติ
ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่” โดยใช้วิภาษวิธีและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า ฝ่ายตรงข้ามที่ไม่เห็นด้วยแสดงเหตุผล 3 ข้อว่าการประพฤติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ให้สุขแท้ฝงเพราะความสุขที่มนุษย์แสวงหานั้นมีหลากหลายและมนุษยนิยมชี้ว่าไม่มีความสุขใดเป็นความสุขสูงสุด ทุกความสุขมีคุณค่าเท่ากัน ได้แก่ 1) ความสุขสะดวกสบาย 2) ความสุขในการได้ผลประโยชน์ 3) ความสุขในการดำรงวงศ์ตระกูล ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดูเหมือนจะไม่ได้ส่งเสริมความสุขเช่นนี้เลย ผู้วิจัย
วิจารณ์เหตุผลฝ่ายตรงข้ามว่ามีจุดอ่อนอย่างสำคัญคือ การตีความความสุขแท้ซึ่งมีความหมายมากกว่าความสุขในด้านต่าง ๆ ที่เข้ากันได้โดยทั่วไปตามมนุษยนิยมและจิตวิทยาโดยชี้ถึงผลเชิงลบของการมุ่งสู่ความสุขไม่แท้ในแต่ละด้าน 1) ความสุขสะดวกสบายนำไปสู่ความเกียจคร้านและทำให้เกิดทุกข์ทั้งทางกายและอารมณ์ได้ 2) ความสุขผลประโยชน์นำไปสู่การเอาเปรียบ ความเห็นแก่ตัวและทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ 3) ความสุขดำรงเผ่าพันธุ์นำไปสู่ความหลงในกามจนเกิดปัญหาในสังคม ระดับคุณภาพของความสุขอารักขา ยืนยังทำให้เกิดการเข้าข้าง การช่วยเหลือพวกพ้องและการปกป้องพวกพ้องซึ่งกล้าบ้าบิ่นและรุนแรงไปเป็นความขัดแย้งและสงครามได้ 4) ระดับคุณภาพของความสุขสำหรับมนุษย์ที่จะเป็นความสุขแท้ได้จึงเป็น
ความสุขตามสัญชาตญาณปัญญาซึ่งปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุคชี้ว่าความสุขแท้เกิดได้จากการพัฒนาคุณภาพชีวิตขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้นคำตอบวิจัยคือ มนุษย์จะได้ความสุขแท้จากการประพฤติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยผู้วิจัยเสนอเหตุผลสนับสนุนคำตอบของผู้วิจัยว่า 1) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาจริยะที่เน้นให้รู้จักบริหารสัญชาตญาณในระดับรองลงมาเพื่อให้มนุษย์ได้มีความสุขในระดับพอเพียง และให้เกิดความสุขสูงสุดแก่สัญชาตญาณปัญญา 2) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ตีความด้วยปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุคจึงจะเน้นการสร้างสรรค์ การปรับตัว การร่วมมือและการแสวงหาซึ่งนำไปสู่การมีพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อให้มีความสุขที่มีคุณภาพที่ดีมากขึ้นไปเรื่อยๆ 3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเมตตาย่อมทำให้เกิดความสุขแท้คือ การมีความสุขบนความสุขของผู้อื่นซึ่งเป็นคุณค่าร่วมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชนและประเทศ 4) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมการกำกับความประพฤติด้วยองค์ประกอบคุณธรรม 4 ด้าน ย่อมทำให้มนุษย์ประพฤติตามแนวทางสายกลางเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ได้อย่างยั่งยืน ผลลัพธ์ของการวิจัยนี้จะช่วยแสดงคุณค่าที่แท้จริงของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสามารถนำไปให้เป็นความรู้แก่ประชาชนทุกระดับผ่านทีมสอน (teaching) กับทีมอบรม (educating) คือสอนให้มีความรู้ตามเกณฑ์มาตรฐาน เนื้อหาเชิงวิชาการ หลักปรัชญาและการตีความตัวบทหลักปฏิบัติด้วยคุณธรรม 4 หลักเมตตา และกระบวนทรรศน์หลังนวยุค เมื่อประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจแล้ว ก็ควรที่จะมีการอบรมให้เขาประพฤติดีได้จนเป็นนิสัยตลอดชีวิต โดยเน้นการสร้างสรรค์ การปรับตัวการร่วมมือและการแสวงหาตามแนวทางปรัชญาหลังนวยุค ผลของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงจะเป็นไปในเชิงรุกต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้เป็นความผาสุกของประเทศและของโลกได้
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.