การรับรู้ผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีไทย-จีน ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

สโรชิน หน่อรัตน์

Abstract


การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม ของเกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ 2) ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เกี่ยวกับนโยบายการเปิดการค้าเสรี 3) ผลกระทบที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ ได้รับจากนโยบายการค้าเสรี 4) ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตพื้นที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 267 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ให้ข้อมูลเกือบสี่ในห้า เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 44 ปี มีสถานภาพสมรสแล้วมีการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน มีขนาดพื้นที่ถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 12.89 ไร่ รายได้รวมทั้งหมดเฉลี่ยอยู่ที่ 225,962.55 บาทต่อปี ใช้แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) มีประสบการณ์ในการเพาะปลูกข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 14.97 ปี ผู้ให้ข้อมูลเกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด การติดต่อจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 2.06 ครั้งต่อปี ได้รับการฝึกอบรม เฉลี่ย 3.69 ครั้งต่อปี และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
การเปิดการค้าเสรี ไทย-จีน อยู่ในระดับปานกลาง ผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นต่อผลกระทบด้านบวกและด้านลบจากการเปิดการค้าเสรีไทย-จีน ในระดับมาก เกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่มีปัญหาในการผลิตข้าวในเรื่องของต้นทุนการผลิต และความผันผวนของราคาข้าว โดยเสนอแนะว่ารัฐบาลควรจะกำหนดนโยบายที่แน่นอนและเหมาะสมที่สุดสำหรับเกษตรกร มีการให้ความรู้ในเรื่องวิธีการทำนาแบบใหม่ให้แก่เกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวอย่างจริงจัง
ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม กับการรับรู้ผลกระทบในการเปิดการค้าเสรีไทย-จีน พบว่า เพศ สภาพการถือครองที่ดิน ประสบการณ์ในการฝึกอบรมและความรู้ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ผลกระทบในการเปิดการค้าเสรีไทย-จีน ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และเมื่อพิจารณาในภาพรวมทุกตัวแปรอิสระแล้ว พบว่าระดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระทุกตัว โดยมีค่า R2 = 0.207 หรือร้อยละ 20.70 นั่นคือ ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปร


Keywords


การรับรู้; การค้าเสรีไทย-จีน

Full Text:

PDF

References


ชัยวุฒิ ชัยพันธ์. (2542). การจัดการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์. (2548). ผลการเปิดการค้าเสรีของประเทศไทย-จีน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพาณี ธนีวุฒิ, นพรัตน์ ละมุล, ประนอม เพชรสมัย และ วลัยพร อดออมทรัพย์. (2543). เงาแอกในการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.

อัญชลี อุไรกุล. (2546). “รายงานพิเศษ ไทย-จีน ผักและผลไม้โอกาสดีของเกษตรไทย”. เทคโนโลยีชาวบ้าน. 26, 316(1 สิงหาคม): 44-46.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.