คนพิการกับการเข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน
Abstract
การศึกษานี้ ผู้วิจัยได้ตั้งคำถามวิจัยว่า “การส่งเสริมเทคโนโลยีสื่อสารที่ช่วยคนพิการให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่คนพิการแล้วหรือไม่” โดยตั้งสมมติฐานว่า ทุกฝ่ายต่างก็เห็นด้วยว่า “ได้” ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมเทคโนโลยีสื่อสารให้ช่วยคนพิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเหตุผลตามกระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่คนพิการผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารเพื่อเพิ่มศักยภาพคนพิการ คือ เทคโนโลยีต้องใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพคนพิการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ภายใต้กรอบคิดด้านการส่งเสริมมนุษยนิยมเพื่อให้มีความเท่าเทียมกันแก่คนพิการ และการบังคับใช้กฎหมายเท่าที่จำเป็น โดยเน้นการมีกิจกรรมสังคมที่เป็นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาคุณภาพสังคมที่ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ผลการศึกษาเป็นการแสดงเหตุผลฝ่ายตรงข้าม พร้อมทั้งวิจารณ์เหตุผลฝ่ายตรงข้ามและมีเหตุผลสนับสนุนคำตอบวิจัยในแต่ละประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะเพิ่มศักยภาพแก่คนพิการ โดยหากอ้างเหตุผลตามฝ่ายตรงข้าม 1) การเพิ่มสมรรถภาพคิดแก่คนพิการเป็นการส่งเสริมมนุษยนิยม แต่ผู้วิจัยเห็นว่าจะเป็นการสร้างมายาคติให้เห็นว่าคนพิการเท่ากันกับคนปกต 2) เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการเพิ่มการรับรู้ข่าวสารของคนพิการ ซึ่งวิจารณ์ได้ว่าจะเป็นการสถาปนาตำแหน่งแห่งที่ของตน 3) เทคโนโลยีสื่อสารแก่คนพิการอยู่ในภาวะพร้อมใช้ แต่แท้ที่จริงแล้วไม่พร้อมใช้ และควรเป็นเครื่องช่วยเพิ่มการรับรู้ข่าวสารของคนพิการเท่านั้น ประเด็นที่ 2 มนุษยนิยมหนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความเสมอภาค โดยฝ่ายตรงข้ามมีเหตุผลและผู้วิจัยชี้จุดอ่อนว่า 1) โลกาภิวัตน์ทำให้สิทธิมนุษยชนได้รับความสนใจ แต่ในความเป็นจริงโลกาภิวัตน์ไม่ได้สนใจสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง 2) เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในระบบทุนนิยม แต่ต้องไม่ลืมว่าระบบทุนนิยมมุ่งแสวงหากำไรสูงสุด 3) การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนพิการเป็นการแสดงการตอบแทนสังคม แต่ก็อาจวิจารณ์ได้ว่าการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นไปเพื่อสร้างภาพเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ และประเด็นที่ 3 รัฐกำกับดูแลตามกฎหมายอย่างเข้มแข็ง โดยเหตุผลฝ่ายตรงข้ามดูเหมือนจะถูกต้อง แต่ก็มีจุดอ่อนที่ผู้วิจัยย้อนแย้งดังนี้ 1) รัฐมีความรับผิดชอบต่อคนพิการในฐานะพลเมืองของรัฐก็จริง แต่พึงตระหนักว่ากฎหมายรอนสิทธิของผู้ประกอบกจิ การและคนทั่วไปหากไม่ใช้ให้พอเหมาะ 2) รัฐใช้กระบวนการทางกฎหมายอย่างรอบด้าน และ 3) กฎหมายมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ อย่างไรก็ดี การบังคับอย่างเคร่งครัดอาจนำไปสู่การต่อต้านได้
เมื่อพบว่า เหตุผลของกระบวนทรรศน์นวยุค มีจุดอ่อน จึงได้นำเหตุผลตามกระบวนทรรศน์หลังนวยุคมาใช้ โดยให้ความสำคัญต่อมนุษยนิยม โดย 1) การเน้นความเท่าเทียมแก่คนพิการ 2) การโอบอ้อมอารีระหว่างคนพิการกับสังคม คือ คุณค่าร่วมในสังคม 3) การปกป้องคนพิการจากการแสวงหากำไรของระบบทุนนิยม นอกจากนั้น จะต้องเข้าใจว่า เทคโนโลยีมีไว้เพื่อใช้เพิ่มศักยภาพคนพิการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเท่านั้น เพราะ 1) เทคโนโลยีเน้นการเพิ่มศักยภาพคนพิการ 2) การเพิ่มสมรรถนะคิดแก่คนพิการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยจะต้องใช้กฎหมายเท่าที่จำเป็น ด้วยหลักการสำคัญคือ 1) กฎหมายรอนสิทธิเท่าที่จำเป็น 2) เน้นกำกับกฎเกณฑ์เพื่อการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ เพื่อให้การส่งเสริมเทคโนโลยีสื่อสารช่วยคนพิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ คนพิการอย่างแท้จริง
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กีรติ บุญเจือ. (2546ก). เริ่มรู้จักปรัชญา เล่ม 1 ในชุด ปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
_______. (2546ข). ย้อนอ่านปรัชญาโบราณของมนุษยชาติ เล่ม 2 ในชุด ปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
_______. (2546ค). ย้อนอ่านปรัชญายุคกลางของมนุษยชาติ เล่ม 3 ในชุด ปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
_______. (2546ง). ย้อนอ่านปรัชญานวยุคของมนุษยชาติ เล่ม 4 ในชุด ปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
_______. (2546จ). ย้อนอ่านปรัชญากังขาของมนุษยชาติ เล่ม 5 ในชุด ปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
_______. (2546ฉ). ปรัชญาอรรถปริวรรตของมนุษยชาติ เล่ม 6 ในชุด ปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
กรมประชาสัมพันธ์, 2554, จาก กกช. สู่ กสทช., เอกสารราชการ.
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์, รศ.ดร., (2553). ทฤษฎีความยุติธรรมของจอห์น รอลว์ส, เอกสารคำสอนวิชา สค.313 หลักและวิธีการสังคมสงเคราะห์ 3.
กิติมา สุรสนธิ. (2542). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชนี เชยจรรยาและคณะ. (2541). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์ (1988). พัฒนาคนพิการไทย, มูลนิธิ. สิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ. [Online] 2551; Available from URL: http://www.tddf.or.th/tddf/newsroom
มณเฑียร บุญตัน. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง คนพิการไทยได้อะไรจาก CRPD: อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ. [คมชัดลึกออนไลน์ 3 ธันวาคม 2551]
ยุพาพร รูปงาม. (2545). การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูประบบราชการ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ. 2552; 126(77ง): 2
ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. 2550; 124(61ก): 8
วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์, มณเฑียร บุญตัน และอัครพรรณ ขวัญชื่น. (2545). รายงานการศึกษาวิจัยเรื่องการแก้ไขกฎหมายที่กีดกันคนพิการในการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม ศึกษากรณี กฎหมายและกฎระเบียบที่จำกัดสิทธิคนพิการในการประกอบอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2553, จาก http://www.lawreform.go.th.
สมควร กวียะ. (2546). หน่วยที่ 2 ทฤษฎีการสื่อสารกับการประยุกต์ใช้ในงานสารสนเทศ ในเอกสารการสอน ชุดวิชาการสื่อสาร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมควร กวียะ. การวิจัยการสื่อสารในประเทศไทยเพื่อประเทศไทย. กรุงเทพฯ, ม.ป.ป.
สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย. (2556). งานประชุมสมัชชาดับเบิ้ลยูบียู ไอซีอีวีไอ 2555, http://www.tab.or.th/wbu-icevi2012/index.php/th.
สำนักงาน กสทช. (2555). 100 เรื่องน่ารู้ ผู้บริโภคสื่อวิทยุ - โทรทัศน์, เอกสารขององค์กรสำนักงาน กสทช., ม.ป.ป., รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรมกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์, เอกสารขององค์กร.
สำนักงาน กสทช. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารประจำปีงบประมาณ 2555, เอกสารขององค์กร
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2556). สถิติคนพิการ http://nep.go.th/th/disability-statistic. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์, รศ.ดร., ความเสมอภาค, http://philoflanguage.wordpress.com/2011/12/19/
ความเสมอภาค/
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ และคณะ. (2543). การเสนอภาพของเด็กในข่าวหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Bentham, J. (2010). An Introduction to the Principles of Morals and Legislation. LULU Press.
Gerbner, G., Gross, L., Morgan, M., & Signorielli, N. (1986). “Living with television: The dynamics
of the cultivation process” in J. Bryant & D. Zillman (Eds.), Perspectives on media effects (pp. 17–40). Hilldale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Hampton, J. (1986). Hobbes and the Social Contract Tradition. Cambridge: Cambridge University Press.
Heidegger, M. (1977). The question concerning technology and other essays. (Lovitt, W., Trans). New York: Harper & Row.
Ihering R. (1913). Law as a means to an end. trans Husik I. Boston, Boston Book. Retrieved October
, 2014, from http://socserv2.mcmaster.ca/~econ/ugcm/3ll3/ihering/LawMeansEnd.pdf
Marcuse, H. (1964). One-dimension man: Studies in the ideology of advanced industrial society. Boston: Beacon press.
Michael O’Shaughnessy & Jane Stadler. (2002). Media and Society, Oxford University Press, Second edition.
Morkuniene J. (Ed.). (2004). Social philosophy, paradigm of contemporary thinking. Cultural heritage and contemporary change series IVA, Eastern and Central Europe Vol.23. Council for
research in values and philosophy. Retrieved April 20, 2013, from http://www.crvp.org/book/Series04/IVA-23/contents.htm.
Universal Declaration of Human Rights, n.d., http://www.un.org/en/documents/udhr/
Winner, L. (1977). Autonomous technology: Technics-out-of-control as a theme in political thought. Miami: MIT Press.
Refbacks
- There are currently no refbacks.