รูปแบบการบรรลุธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทและนิกายเซนเชิงประยุกต์

จุฑาภัค หริรักษ์ธำรง

Abstract


วัตถุประสงค์วิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาดั้งเดิม วิเคราะห์การบรรลุธรรม
ในพระพุทธศาสนานิกายเซ็นและเปรียบเทียบพัฒนาการการบรรลุธรรมในเซน การวิจัยเชิงคุณภาพผลการวิจัยเปิดเผยให้เห็นถึงความจริงสุดประเสริฐของพุทธธรรม ปัจจัยธรรมแห่งการพึ่งพิงอิงอาศัยกันและกัน ว่าการจะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล แม้ตั้งแต่ขั้นต้นขึ้นไปนั้น อารมณ์พระโสดาบัน ต้องมีศีลห้าครบถ้วน ต้องพิจารณาความตายอยู่เนืองๆต้องไม่สงสัยในโดยผ่านอารมณ์ความไม่ยึดติดอารมณ์ ความคิด ความจำ ธรรมชาติของจิตทั้งปวงใดๆว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา ของเรา ของเขา คือไม่ปล่อยให้เกิดอุปาทานขึ้นมานั่นเองคือรู้อารมณ์นิพพานว่าเป็นเช่นนั้นแล้วปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับศัพท์สมมติว่าเป็นอัตตา (ความมีตัวตน)ไม่ยึดติดกับศัพท์สมมติว่าเป็นอนัตตา (ความไม่มีตัวตน) เพราะอาจทำให้เกิดความหลงและติดใจในอารมณ์สมมตินั้นๆจนไม่ปล่อยวางให้ดับอารมณ์สมมตินั้นหมดเสียที ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า
การเจริญวิปัสสนาคือ ปัญญา (ความรู้แจ้ง) ที่รู้สภาวะของอารมณ์ตามความเป็นจริงในอารมณ์ ๖ ว่ามีแต่รูปธรรมกับนามธรรมเท่านั้น และรูปนามนั้นก็มีความเกิดดับอยู่เสมอ ทำให้เกิดปัญญา รู้ว่ารูปนามนั้น ไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง เป็นทุกข์ และทนอยู่ไม่ได้เป็นอนัตตา บรรลุถึง “สุญญตา” หรือ “ความว่าง” ในที่สุด
นิกายเซ็น (Zen) คือนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน แต่มีความคล้ายคลึง
กับเถรวาทในสายพระป่า เซ็นไม่นิยมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรืออิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ เซ็นจะเน้นการฝึกปฏิบัติฝึกการใช้ปัญญา และสมาธิ เพื่อให้ เกิดพุทธิปัญญาจนเข้าใจหลักธรรมด้วยตนเอง จุดมุ่งหมายของเซ็น คือ การตระหนักรู้ในพุทธภาวะ การบรรลุธรรมในแบบเซ็นจะเรียกว่า “ซาโตริ” หรือภาวะรู้แจ้ง ซึ่งเป็นภาวะที่ อวิชชา ตัณหา อุปทาน มลายหายไปสิ้น เมื่อบรรลุแล้วก็จะเข้าสู่ความหลุดพ้น ทุกสิ่งกลายเป็นสุญญตา หรือ “ความว่าง” ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น แม้แต่พระนิพพาน จุดเด่นอีกประการหนึ่งของเซ็นคือ การไม่ยึดติดในรูปแบบพิธีกรรม หรือแม้แต่พระไตรปิฎก ทั้งนี้ การบรรลุธรรม “แบบฉับพลัน” นิกายเซน จึงมุ่งเน้นให้ใกล้ชิดธรรมชาติ ต้องศึกษาธรรมชาติ ทำการเรียนรู้จากธรรมชาติ ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ “ญาณปรัชญาให้มาก”


Keywords


การบรรลุธรรม; นิกายเซ็น (Zen); สุญญตา หรือ “ความว่าง”

Full Text:

PDF

References


พุทธทาสภิกขุ. (๒๕๓๒). สูตรของเว่ยเหล่ง, สำนักหนังสือ ธรรมบุชา ถนนอัษฎางค์.

________. (๒๕๓๙). คำสอนของฮวงโป, พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน, แสวงสุทธิการพิมพ์.

พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก. (๒๕๕๑). สหัสรภุชสหัสรเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวมหากรุณาจิตรธารณีสูตร. แปลจากจีน พากย์สู่ไทยพากย์ เมื่อพุทธายุกาลล่วงแล้ว ๒๕๔๗ ปี, วัดเทพพุทธาราม.

________. (๒๕๕๓). มัญชุศรีปรัชญาปารมิตาสูตร. แปลจากจีน พากย์สู่ไทยพากย์, วัดเทพพุทธาราม.

________. (๒๕๕๓). พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร. แปลจากจีน พากย์สู่ไทยพากย์, วัดเทพพุทธาราม.

________. (๒๕๕๓). มหายาน มหาสนฺนิปาต กษิติครรภ ทศจกฺร สูตร. แปลจากจีน พากย์สู่ ไทยพากย์,

วัดเทพพุทธาราม.

________. (๒๕๔๒). สัทธรรมปุณฑริกสูตร อวโลกิเตศวรโพธิสัตว์สมันตมุขปริวรรค, วัดเทพพุทธาราม แปลจากจีนพากย์สู่ไทยพากย์ เมื่อพระพุทธายุกาลล่วงแล้ว ๒๕๔๒ ปี.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.