แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพ เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความต้องการรับสวัสดิการสังคมและพัฒนาแนวทาง
การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพในพื้นที่เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 220 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์และแนวทางการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการรับสวัสดิการสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก เพศชาย
มีความต้องการรับสวัสดิการสังคมมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) กลุ่มรายได้ 10,000 บาทขึ้นไป มีความต้องการรับสวัสดิการสังคมมากกว่ากลุ่มรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท และกลุ่มรายได้ 5,000-9,999 บาท มีความต้องการรับสวัสดิการสังคมมากกว่ากลุ่มรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< .05) ส่วนกลุ่มอายุและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความต้องการรับสวัสดิการสังคม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P< .05) แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพ พบว่า ควรมุ่งเน้นไปที่ความต้องการรับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีความต้องการอยู่ในระดับมาก
จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสุขภาพ ด้านที่พักอาศัยอาหารและเครื่องนุ่งห่ม ด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ และด้านการสงเคราะห์การจัดการศพตามประเพณี ซึ่งควรประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันหลากหลายปัจจัยในลักษณะการดูแลเป็นเครือข่าย เป็นสิ่งที่ช่วยให้การดูแลผู้สูงอายุสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนซึ่งรวมถึงตัวผู้สูงอายุเองด้วย อันจะทำให้บริการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2551). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ
กวิน วันวิเวก. (2551). แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมสาหรับผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชาญวิทย์ บ่วงราบ. (2551). ความต้องการการได้รับสวัสดิการของผู้สูงอายุใน ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโครงการและประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ปรารถนา มะลิไทย และคณะ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลจังหวัดมหาสารคาม. วารสารอีสานศึกษา ความหลากหลายทางวัฒนธรรม.
ระพีพรรณ คำหอม และคณะ. (2542). การประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานสถิตินครราชสีมา. (2553). จำนวนประชากรแยกรายอายุ. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 10, 2555, จาก https://www.dopa.go.th/hpstat9/inhouse.htm
อุชุกร เหมือนเดช. (2552). ความต้องการในการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
อภิชาต สถิตนิรามัย. (2555). รัฐธรรมนูญการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
อำไพขนิษฐ์ สมานวงศ์ไทย. (ม.ป.ป.). ปัญหาของผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 15, 2555, จาก http://www.love4home.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=108066&Ntype=2
Maslow. (1970). ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation: 170
Refbacks
- There are currently no refbacks.