ผลของการให้คำ ปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคม ของหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

ขวัญชนก นันทะชาติ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการปรับตัวทางสังคมของหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์
ไม่พึงประสงค์ก่อนและหลังการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้หญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์อายุระหว่าง 15 - 19 ปี ที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ การทดลองใช้แบบแผนกึ่งการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามการปรับตัวทางสังคมของหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน และแบบสัมภาษณ์การปรับตัวทางสังคมวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลังเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน หญิงวัยรุ่นมีการปรับตัวทางสังคมทั้ง โดยรวมและรายด้านเพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าขนาดอิทธิพลของการให้คำปรึกษาแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 2.57
2. จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ข้อมูลเชิงคุณภาพสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ


Keywords


การให้คำ ปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน; การปรับตัวทางสังคม; หญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

Full Text:

PDF

References


กาญจนา คำเพราะ. (2552). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวทางสังคม

ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. การวิจัยการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กิ่งดาว มะโนวรรณ. (2553). แนวทางการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์: กรณีศึกษาโครงการ

คุณแม่วัยใสห่วงใยอนาคตศูนย์ฝึกอาชีพสตรีจังหวัดเชียงราย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย.

วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ยุทธศาสตร์การพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ช่อผกา จั่นประดับ. (2554). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการให้คำปึกษาแบบกลุ่มต่อพฤติกรรมการปรับตัวของ

หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ พย.ม. การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ณัฏฐฎา ดุษฎีอิสริยวงศ์. (2546). ผลการให้คำปรึกษากลุ่มแบบภวนิยมเพื่อพัฒนาเอกลักษณ์แห่งตน

ของมารดานอกสมรสที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. จิตวิทยาการแนะแนว

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิพวรรณ คุณสาร. (2550). ผลของการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โดยใช้โปรแกรม

ฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม การแนะแนวและให้คำปรึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิภา นิธยายน. (2530). การปรับตัวและบุคลิกภาพ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ปภิญญา ฮวดศรี. (2551). การเปรียบเทียบผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อการปรับตัวทางสังคมระหว่าง

ทฤษฎีการเผชิญความจริงและทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. จิตวิทยาการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ. (2550). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวทางสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. การวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา และ วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มธุรส ธัญญเฉลิม. (2550). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่ส่งผลต่อการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 4 สหวิทยาเขตเสรีไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. การวิจัยและสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณวิสาข์ พลขยัน. (2551). การปรับตัวทางสังคมของคนพิการ: ศึกษากรณี โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ไทยศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิรัตน์ พสุนนท์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างมโนภาพแห่งตนกับการปรับตัวทางสังคมของนักเรียน โรงเรียนวัดยายร่ม(วัฒนราษฏร์รังสรรค์). วิทยานิพนธ์ วท.ม. จิตวิทยาพัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศุภศรีนวล ภาโนชิต. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. การวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สายสมร เฉลยกิตติ. (2554). การพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพยาบาลวิชาชีพ โดยการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. จิตวิทยาการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุนทรี ยี่ร้า. (2552). การปรับตัวทางสังคมของแรงงานชาวพม่าในเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์

ศศ.ม. สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

สุภาพร ศรีลาดเลา. (2549). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเหตุผล-อารมณ์ที่มีต่อการปรับตัวทางสังคมกับเพื่อนต่างเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนแคนดงพิทยาคม

กิ่งอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. จิตวิทยาการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุอัญญา โตสกุล. (2549). ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีภวนิยมต่อคุณค่าแห่งตนของมารดานอกสมรสที่ตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนา. วิทยานิพนธ์ วท.ม. จิตวิทยาการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนรรฆวี ปิยะกาญจน์. (2551). ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการเผชิญความจริงที่มีต่อการปรับตัวทางสังคมของเด็กและเยาวชนในสถานคุมประพฤติ. วิทยานิพนธ์ วท.ม. จิตวิทยาการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรอนงค์ วงศ์วิริยากร. (2551). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำแท้งและการตั้งครรภ์ต่อไปของหญิงที่ไม่พร้อมตั้งครรภ์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Gerald Coray. (2012). Theory and practice of group counseling (8thed). Canada: Brook/Cole Cengage learning.

Herlock, Elizabeth B. (1978). Development and Psychology. New York: McGraw-Hill.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.