บุพปัจจัยของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานระดับปฏิบัติการ ของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของบุพปัจจัยของ พฤติกรรมการเป็น
สมาชิกที่ดีขององค์การ ได้แก่ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การ กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานระดับปฏิบัติการ ของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย รวมทั้งศึกษาถึงบุพปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงาน ระดับปฏิบัติการ ของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบ ถามสำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการและการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับผู้บริหารระดับสูง เป็นเครื่องมือวิจัยในการเก็บข้อมูลจากพนักงานระดับปฏิบัติการ ของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย จำนวน 611 คน และผู้บริหารระดับสูง จำนวน 4 คนของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย ข้อมูลการวิจัยถูกวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ผู้บริหารทุกระดับของโรงงาน ผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย ควรตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของบุพปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ
Keywords
Full Text:
PDFReferences
สถาบันยานยนต์. (2555). แผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สถาบันยานยนต์, กระทรวงอุตสาหกรรม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). รายงานการศึกษาเบื้องต้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2556, จาก
http://www.nesdb.go.th/Portals/0/tasks/dev_ability/report/CreativeEconomy.pdf
สำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ. (2556). ระบบฐานข้อมูลแผนที่คลัสเตอร์. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2556, จาก http://cm.nesdb.go.th/pop_summary20.asp?ClusterID=C0016.
Alotaibi, A. G. (2001). Antecedents of organizational citizenship behavior: A study of public personnel in Kuwait. Public Personnel Management, 30(3), 363-376.
Brown, T., & Brandt, D. (2014). How high growth economies impact global information technology departments. AI & SOCIETY, 29(2), 241-247.
Chen, Z. X., & Francesco, A. M. (2003). The relationship between the three components of commitment and employee performance in China. Journal of Vocational Behavior, 62(3), 490-510.
Chiocchio, F., & Hobbs, B. (2014). The difficult but necessary task of developing a specific project team research agenda. Project Management Journal, 45(6), 7-16.
Gonzalez, J. V., & Garazo, T. G. (2006). Structural relationships between organizational service orientation, contact employee job satisfaction and citizenship behavior. International Journal of Service Industrial Management, 17(1), 23-50.
Locke, E. A. (1976). The nature and causes of job satisfaction. In M. D. Dunnette (Ed.), Handbook
of industrial and organizational behavior (pp. 1297-1349). Chicago, IL: Rand McNally.
Moorman, R. H. (1991). Relationship between organizational justice and organizational citizenship behavior: Do fairness perceptions influence employee citizenship? Journal of Applied Psychology, 76(6), 845-855.
Organ, D. W. (1988). Organizational citizenship behavior: The good soldier syndrome. Lexington, MA: Lexington Books.
Pollack, J., & Algeo, C. (2014). Perspectives on the formal authority between project managers and change managers. Project Management Journal, 45(5), 27-43.
Porter, L. W., Steers, R. M., Mowday, R. T., & Boulian, P. V. (1974). Organizational commitment, job satisfaction, and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology, 59(5), 603-609.
Samuel, N., Peter, S., & Eddie, D. (2006). Transformational and transactional leadership effects on teachers’ job satisfaction, organizational commitment, and organizational citizenship
behavior in primary schools: The Tanzanian case. School Effectiveness and School Improvement, 17(2), 145-177.
Schappe, S. P. (1998). The influence of job satisfactions, organizational commitment, and fairness perceptions on organizational citizenship behavior. Journal of Psychology, 132(3), 277-290.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling (3rd ed.). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Sweeney, J. T., & Quirin, J. J. (2008). Accountants as layoff survivors: A research note. Accounting, Organizations and Society, 34(6/7), 787-795.
Yamane, T. (1970). Statistics: An introductory analysis. Tokyo, Japan: John Weatherhill.
Refbacks
- There are currently no refbacks.