แนวทางการใช้แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอท่าตะโก สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3

จำรุญ ตลอดภพ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและเสนอแนวการใช้แหล่งเรียนรู้และนำเสนอ
แนวทางการใช้แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก ในอำเภอท่าตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 มีวิธีการดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ และนำเสนอแนวทางการใช้แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก ในอำเภอท่าตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 จำนวนทัง้ สิน้ 113 คน เครื่องมือที่ใชใ้ นการวิจยั เปน็ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ มัชฌิม
เลขคณิต (μ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 2) เสนอแนวทางการมีส่วนร่วม โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการใช้แหล่งเรียนรู้และนำเสนอแนวทางการใช้แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก
ในอำเภอท่าตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อวิเคราะห์สภาพการมีการดำเนินการใช้ในรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้มากที่สุดคือด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีการดำเนินการใช้น้อยสุดคือ ด้านสถานที่สำคัญ
2. แนวทางการใช้แหล่งเรียนรู้และนำเสนอแนวทางการใช้แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก
ในอำเภอท่าตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
ด้านบุคคล มีแนวทางดังนี้ ควรมีประชุมเพื่อร่วมกันวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของ
ปัญหาในการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านบุคคล กำหนดรูปแบบ วิธีการประเมินและจัดทำรายงานการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านบุคคลที่เหมาะสมและตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ และจัดทำรายงานการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านบุคคล
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีแนวทางดังนี้ ควรมีการประชุมเพื่อกำหนดวิธี/รูปแบบการประเมิน
ที่เหมาะสมและตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ควรมีการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในการใช้แหล่งเรียนรู้

มีการจัดทำรายงานการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านสถานที่สำคัญ มีแนวทางดังนี้ ควรมีการประชุมเพื่อวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญ
ของปัญหา มีการตั้งคณะกรรมการวิเคราะห์ผลการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านสถานที่สำคัญจากรายงานการใช้
เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการนำผล การวิเคราะห์มาปรับปรุงการดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านสถานที่สำคัญ และการจัดทำรายงานการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านสถานที่สำคัญ
ด้านศิลปวัฒนธรรม มีแนวทางดังนี้ ควรมีการประชุมเพื่อวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญ
ของปัญหาการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม มีการตั้งคณะกรรมการวิเคราะห์ผลการใช้จากรายงานการใช้ เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมควรมีการประชุมเพื่อกำหนดรูปแบบ วิธีการจัดทำรายงานการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม และจัดทำรายงานการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี
ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี มีแนวทางดังนี้ ควรมีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทาง
การปฏิบัติงานและสำรวจความต้องการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านสื่อวัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยี ควรมีการตั้งคณะกรรมการวิเคราะห์ผลการใช้แหล่งเรียนรู้จากรายงานการใช้ และมีการประชุมเพื่อนำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงการดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ จัดทำรายงานการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน เพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการใช้แหล่งเรียนรู้ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี


Keywords


การใช้แหล่งเรียนรู้

Full Text:

PDF

References


กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทพิมพ์.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และการวิเคราะห์สาระสำคัญ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). นโยบายกรมสามัญศึกษา ปีงบประมาณ 2545. กรุงเทพฯ : กรมสามัญศึกษา.

________. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวของและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

________. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

________. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ช่อรัตร์ดา เกสทอง. (2551). การนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ณัฐพงษ์ กิติทรัพย์กาญจนา. (2551). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

บัญชา แสนทรี. (2545). การวิจัยในชั้นเรียนจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เบญจวรรณ ระตา. (2551). การใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลดอกเงิน

จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประสิทธิ์ ศรีจันทร์. (2548). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอบรรพตพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ประกิต รัตนสุวรรณ. (2525). การวัดผลประเมินผลทางการศึกษา : ม.ป.ท.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: สหมิตรออฟเวท.

ภัครภรณ์ มานิตย์. (2550). การจัดการแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มโรงเรียนโป่งสา จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณภา ยาสุทธิ. (2554). แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนตามความคิดของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อรนุช คำสิงห์. (2555). บทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของคณะกรรมการ

สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อำภา บุญช่วย. (2537). การบริหารงานวิชาการโรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการบริหารวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ : เอส ดี เพรส.

เอื้องทิพย์ สีเหนี่ยง. (2551). การนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตอำเภอสว่างอารมณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

อุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.